ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
duraichi
เขียนกระทู้: 19
ตอบกระทู้: 2
พลังน้ำใจ: 1
(ขอบคุณ)
|
รถจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในยานพาหนะยอดนิยม ยิ่งในยุคน้ำมันแสนจะแพงอย่างเช่นทุกวันนี้ตามเมืองใหญ่ๆที่จราจรติดขัด ดูเหมือนรถจักรยานยนต์จะเป็นพาหนะที่น่าใช้มากที่สุด เพราะอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลืงจะประหยยัดกว่ารถยนต์มาก เมื่อมีผู้หันมาใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้น แต่ยังขาดเรื่องของการดูแลรักษาอาจจะยังไม่เข้าใจ จึงนำเสนอการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมงานใช้เสมอมาฝาก
ล้อและยาง เริ่มต้นกันที่ " ลมยาง" การเติมลมทุกครั้งควรมีการวัดลมยางให้ได้ตามที่สเป็คกำหนดเพื่อยืดอายุการใช้งานของยาง อีกทั้งช่วยในการทรงตัวและลดแรงกระแทก สำหรับแรงดันลม ยางหน้าใช้ 28 ปอนด์ ยางหลัง 30-32 ปอนด์ (ขึ้นอยู่กับรุ่นและน้ำหนักบรรทุก) และเพื่อความแน่นอนควรมีเกจ์วัดแรงดันลมแบบพกพาเอาไว้เพื่อได้ค่าที่ถูกต้อง ระบบไฟ และ แบตเตอร์รี่
ระบบไฟและแบตเตอร์รี่ ที่เราต้องคอยดูแลบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องระบบไฟ โดยเแพาะแบตเตอร์รี่แบบเติมน้ำกลั่น ต้องหมั่นตรวจระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่กำหนดเสมออย่าปล่อยให้น้ำกลั่นแห้ง ส่วนถ้าแบตเตอร์รี่แบบแห้งไม่ต้องดูแลมาก แค่เช็คที่ขั้วของแบตเตอร์รี่อย่าให้สกปรกเป็นพอ หัวเทียน
สำหรับเรื่องของ " หัวเทียน " ควรเลือกใช้ให้ตรงตามสภาพการใช้งานและเครื่องยนต์ อย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าเมื่อใช้หัวเทียนแบบที่ใช้ในรถแข่งแล้วรถจะแรง เพราะรถแข่งในสนามได้ผ่านการโมดิฟายมาแล้ว ไม่เหมือนรถบ้าน กรองอากาศและไส้กรอง ซึ่งรับหน้าที่ในการกรองฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศไม่ให้เข้าไปภายในตัวเครื่องยนต์ แต่เมื่อใช้งานผ่านไปนานๆกรองอากาศจะตัน มีส่วนทำให้ส่วนผสมไอดีเปลี่ยนไป เครื่องยนต์จะกินน้ำมันมากขึ้นและวิ่งไม่ค่อยออก ฉะนั้นควรทำความสะอาดไส้กรองทุกๆ 4,000 กม. และเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 12,000 กม. แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานด้วย หากเป็นที่มีฝุ่นมากๆ การทำความสะอาดต้องบ่อยมากขึ้น น้ำมันเครื่องของรถ 4 จังหวะ สำหรับรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนตามเวลาที่ทางผู้ผลิตได้กำหนดไว้ แต่หากว่ารถมีการใช้งานหนักหรือว่าจอดติดไฟแดงบ่อยๆนานๆ การเปลี่ยนถ่ายก็ต้องเร็วกว่าเดิมเพื่อรักษาชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ สหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์บ้าง เพราะน้ำมันหล่อลื่นเมื่อใช้ไปนานๆประสิทธภาพการหล่อลื่นจะลดลง ส่งผลให้คลัทช์และชุดเกียร์ตัดส่งกำลังไม่ได้ดีเหมือนเดิม ออโต้ลูป สำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
ซึ่งสำคัญมากในระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เพราะ จะช่วยให้จังหวะการหล่อลื่น ระหว่างลูกสูบ และกระบอกสูบเป็นไปอย่างต่อเนื่องเต็มประสิทธิภาพ ฉะนั้นผู้ที่ใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ออโต้ลูปจะต้องมีอยู่ในระบบเสมอ รถจักรยานยนต์เกียร์ ออโตเมติค CVT ( Continous Variable Tranmission ) หรือที่เรียกกันว่า " รถสายพาน " ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมของ ผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ทุก ระดับชั้น สำหรับการดูแลรถสายพานจะแบ่งการดูแลรักษาออกเป็น 2 ส่วน คือ - เครื่องยนต์ - ระบบขับเคลื่อน ในส่วนของเครื่องยนต์ การดูแลรักษาก็เหมือนกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะทั่วไป เช่น การตรวจ เช็คระยะห่างของวาล์ว, เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ,ทำความสะอาดกรองอากศ เป็นต้น อีกส่วน คือ ระบบขับเคลื่อน ซึ่งจะแตกต่างไปจากรถที่ใช " ้โซ่ " เพราะในชุดสายพาน มีกลไก การทำงานที่ต้องดูแลรักษาพอๆ กับเครื่องยนต์เลยทีเดียว เริ่มจาก - ไส้กรองอากาศชุดสายพาน ให้ทำความสะอาดทุกๆ 3,000 กม. - สวิงอาร์มตรวจสอบการหลวมคลอน และอัดจาระบีทุกๆ 24,000 กม. - การรั่วซึมของน้ำมันเฟืองท้ายเมื่อครบ 1,000 กม.แรก และ ทุกๆ 3,000 กม. - เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายเมื่อครบ 1,000 กม.และทุกๆ 10,000 กม. - สายพาน V ให้ตรวจสอบการชำรุดเสียหายและสึกหรอเมื่อครบ 7,000 กม. และทุกๆ 3,000 กม. - ตัวสายพานควรเปลี่ยนใหม่เมื่อครบ 25,000 กม.
แก้ไขล่าสุดโดย duraichi เมื่อ 27 มีนาคม 2560 - 16:06
กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||