ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
KCAR
เขียนกระทู้: 40
ตอบกระทู้: 23
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
ระบบเบรก ABS หรือ ชื่อเต็มว่า Anti – Lock Brake System คือ ระบบเบรกแบบป้องกันล้อล็อก ถูกออกแบบมาเพื่อเปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยให้ระบบเบรกพื้นฐานทำงานดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อเกิดสภาวะคับขันในการเบรก ระบบเบรก ABS จะช่วยป้องกันอาการเบรกล็อก หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าเบรกตายนั้นเอง ซึ่งถ้ารถยนต์ที่ไม่มีระบบ ABS ซึ่งเป็นระบบเบรกพื้นฐานแบบเก่า เมื่อเกิดเหตุที่จะต้องเหยียบเบรกอย่างกะทันหันและแรงนั้น จะทำให้เกิดอาการล้อล็อกหรือล้อตายได้ ผู้ที่ขับขี่จะไม่สามารถควบคุมทิศทางของรถได้ แต่ในทางตรงข้ามหากรถยนต์คันไหนมีระบบเบรก ABS จะช่วยให้รถยนต์สามารถควบคุมทิศทางหรือหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้ในขณะที่เบรกรถอย่างกระทันหัน การทำงานของระบบเบรก ABS ทำงานอย่างไร ระบบเบรก ABS เป็นการผสมผสานระหว่างระบบกลไกและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ป้องกันล้อไม่ให้เกิดการล็อกเมื่อมีการใช้เบรกหนักหรือแรง ซึ่งการทำงานของระบบ ABS จะเริ่มทำงานทันทีที่เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์โดยตัวเซนเซอร์เบรก ABS ได้ถูกติดตั้งอยู่ล้อรถทั้ง 4 ด้าน ซึ่งวิธีการทำงานของเซนเซอร์เบรก ABS ก็จะมีวิธีการทำงานแบบจับปล่อยๆ ที่ตัวเบรกอย่างรวดเร็ว ทำให้ล้อรถไม่เกิดการล็อกตายและยังทำให้ผู้ขับขี่สามารถหักเลี้ยวหลบหลีกสิ่งกีดขว้างและควบคุมรถต่อไปได้ ข้อดีและข้อเสียของระบบเบรก ABS ข้อดีของระบบเบรก ABS คือ ป้องกันอาการล้อล็อกเมื่อต้องเบรกกะทันหัน ควบคุมพวงมาลัยให้ไปตามทิศทางที่ต้องการและช่วยให้ยางไม่สึกหรอไว ข้อเสียของระบบเบรก ABS 1. มีเสียงดังเมื่อระบบทำงาน อาจทำให้ตกใจได้ 2. มีอาการสะเทือนเข้ามาถึงภายในรถ 3. เพิ่มระยะเบรกยาวขึ้น 4. มีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงแพงกว่าระบบเบรกธรรมดา ทั้งนี้ระบบเบรก ABS เมื่อทำงานจะมีอาการสะเทือนเท้า ซึ่งมาจากแรงดันของเบรกมีการผ่อนและดันเป็นระยะ เราไม่ควรถอนเบรก เพราะจะเป็นการเริ่มต้นระบบใหม่ จะทำให้การสร้างแรงดันไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีความถี่ของการสั่งการมากเกินไป จนทำให้ระบบ ABS ไม่ทำงาน เพื่อสร้างความมั่นและความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถ ท่านควรนำรถยนต์ตรวจเช็คสภาพรถที่ศูนย์บริการรถยนต์ใกล้บ้านครับ
ขอขอบคุณบทความสาระความรู้จาก : โตโยต้า รามอินทรา กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||
918kiss
เขียนกระทู้: 2
ตอบกระทู้: 6
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
เยี่ยมครับ. 918kiss |
||