ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
nutsound
เขียนกระทู้: 2
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
ย้อนไปเมื่อปี 2500 ในบ้านเรา ครั้งเริ่มต้นมีเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในยุคนั้นตัวเครื่องรับวิทยุมีขนาดที่ใหญ่ แต่ภายหลังได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ และวงจรให้มีขนาดที่เล็กลง สามารถเลือกฟังรายการต่างๆ จากคลื่นสถานีที่ต้องการ ซึ่งในสมัยนั้นมีวิทยุทรานซิสเตอร์ติดบ้านเพียงเครื่องเดียว ก็ถือว่าแจ่มมากแล้ว ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมอีเลคทรอนิค ที่มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีการนำเอาอุปกรณ์ประเภทหลอดสุญญากาศเข้าไปใช้กับเครื่องรับวิทยุ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขยายเสียงให้ดีขึ้น และพัฒนาให้เป็นอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ตามลำดับ ซึ่งจุดเด่นของทรานซิสเตอร์อยู่ที่ มีความร้อนต่ำ ขนาดเล็ก ไม่กินเนื้อที่ในแผงวงจร ทำให้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์ประเภทต่างๆ ไปใช้ในงานในภาคสวิทช์วงจรอีเลคทรอนิค ภาคขยายเสียง หรือนำไปใช้งานในคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ฟังค์ชันใน เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ปัจจุบัน เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในบ้านเรา และที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทางผู้ผลิตได้อำนวยความสะดวกในการใช้งานของเพาเวอร์แอมป์ ให้สามารถประยุกต์ทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การบรรจุฟังค์ชันการทำงานหลายๆ อย่างเข้าไว้ในตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น ครอสส์โอเวอร์ อีควอไลเซอร์ ซับโซนิคฟิลเตอร์ การบูสต์เบสส์ ฯลฯ และฟังค์ชันที่แตกต่างเหล่านี้ มีการทำงาน และใช้งานได้อย่างไร ? ครอสส์โอเวอร์ เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ทั่วไป จะมีฟังค์ชันนี้เกือบทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นเพาเวอร์แอมพ์ระดับหลักหมื่น หรือหลักพันบาท โดยปกติฟังค์ชันนี้ จะบรรจุวงจรสำหรับเลือกตัดค่าความถี่ให้กับลำโพงในแต่ละชุด ถ้าเป็นวงจรชนิดไฮพาสส์ จะทำหน้าที่ตัดค่าความถี่สูง สามารถเลือกปรับค่าได้ต่อเนื่อง อย่างเช่น ปรับได้ตั้งแต่ 120-3,000 HZ และถ้าเป็นวงจรชนิดโลว์พาสส์ ซึ่งถูกออกแบบสำหรับตัดค่าความถี่ต่ำให้กับวูเฟอร์ และซับวูเฟอร์ บางยี่ห้อได้บรรจุวงจรแบนด์พาสส์เข้าไว้ด้วยกัน วงจรแบนด์พาสส์นี้เหมาะสำหรับใช้ตัดค่าความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านเท่านั้น ซึ่งเป็นวงจรที่รวมเอาการทำงานระหว่างวงจรไฮพาสส์ และโลว์พาสส์เข้าไว้ด้วยกัน อีควอไลเซอร์ มี เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ไม่กี่ประเภท ที่มีฟังค์ชันการทำงานนี้อยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะอยู่ในเพาเวอร์แอมป์สำหรับใช้กับลำโพงซับวูเฟอร์ เป็นวงจรสำหรับทำหน้าปรับสัญญาณได้ ทั้งเพิ่มหรือลด เช่น BASS EQ สามารถเลือกปรับเพิ่มเสียงเบสส์ได้ตามต้องการ เช่น +6, +12 ดีบี ซับ บูสต์ สำหรับฟังค์ชันซับ บูสต์ บางยี่ห้อก็เรียกว่า เบสส์ บูสต์ มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ เป็นวงจรปรับเพิ่มเสียงเบสส์ที่มีวงจรอีควอไลเซอร์อยู่ในตัว โดยออกแบบให้สามารถปรับช่วงค่าความถี่ต่ำได้ทั้งแบบที่ผู้ผลิตกำหนดค่าตายตัว และแบบที่ผู้ใช้สามารถเลือกปรับได้ตามลักษณะการใช้งาน และเหมาะสมกับระบบเสียงชุดนั้นๆ ซึ่งมีบรรจุอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์ที่ใช้งานกับซับวูเฟอร์ และก็มีบรรจุอยู่ใน เพาเวอร์แอมป์แบบ 4 แชนแนล ในหลายยี่ห้อเช่นกัน โดยมีปุ่มวอลูมปรับเสียงซับ บูสต์ ได้ทั้งแชนแนล 1/2 และแชนแนล 3/4 ส่วนวิธีการใช้งานโดยทั่วไป จะใช้แชนแนล 1/2 สำหรับลำโพงชุดหน้า ส่วนแชนแนล 3/4 เมื่อนำไปใช้ต่อการบริดจ์โมโนกับซับวูเฟอร์ และสามารถปรับเพิ่มเสียงทุ้มให้กับซับวูเฟอร์ได้ตามต้องการ ซับโซนิค ฟิลเตอร์ เป็นฟังค์ชันที่บรรจุอยู่ในเพาเวอร์แอมป์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบบ 2 แชนแนล หรือมัลทิแชนแนล และเพาเวอร์แอมป์สำหรับซับวูเฟอร์ ซึ่งค่าการปรับจุดตัดค่าความถี่ต่ำของวงจรดังกล่าวนี้ ไม่ได้กำหนดตายตัว ว่าจะต้องอยู่ในช่วงความถี่ที่เท่าไร อาจจะกำหนดไว้ตั้งแต่ 15-55 HZ หรือ 20-50 HZ ก็ได้ ซึ่งเป็นวงจรสำหรับตัดค่าความถี่ต่ำๆ ที่ไม่ต้องการทิ้งไป เพื่อให้เพาเวอร์แอมป์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการสูญเสียกำลังงานที่ไม่จำเป็นทิ้งไป อันเนื่องจากหูของมนุษย์เรา ส่วนใหญ่จะมีความไวในการได้ยินค่าความถี่เสียง ตั้งแต่ช่วง 30-16,000 HZ เท่านั้น (ความถี่เสียงอยู่ในช่วงตั้งแต่ค่าความถี่ 20-20,000 HZ) และช่วยให้ลำโพงซับวูเฟอร์ สามารถรับกำลังขับได้ดียิ่งขึ้น มาสเตอร์/สลาฟ เป็นอีกโหมดหนึ่ง ที่ถูกบรรจุไว้ในเพาเวอร์แอมป์ สำหรับใช้งานกับซับวูเฟอร์ โดยเฉพาะเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ประเภท CLASS D ที่ออกแบบให้สามารถต่อเพาเวอร์แอมป์สองตัวพ่วงเข้าไว้ด้วยกันโหมด มาสเตอร์/สลาฟ เป็นการเพิ่มเพาเวอร์แอมป์เข้าไปในระบบ สำหรับขับลำโพงซับวูเฟอร์ได้อีกชุด โดยไม่ต้องใช้สัญญาณจากวิทยุรถยนต์ เฟส ชิฟท์ สำหรับฟังค์ชันนี้ มีไว้สำหรับใช้ปรับการเลื่อนของเฟส เมื่อติดตั้งลำโพงเข้าไปในระบบเรียบร้อยแล้วปรากฏว่าเสียงระหว่างลำโพงทวีเตอร์ที่ผลิตเสียงแหลม กับลำโพงซับวูเฟอร์ที่ผลิตเสียงทุ้ม เกิดอาการเหลื่อมทางด้านเวลา ทำให้ค่าความถี่บางช่วง เกิดการหักล้างกัน หรือได้ยินเสียงดนตรีที่เบามาก โดยปกติการใช้ฟังค์ชันนี้ จะทำควบคู่กันระหว่างการทดลองสลับขั้วสายลำโพงทีละชุด และปรับ เฟส ชิฟท์ร่วมด้วย ถ้าปรับเฟสถูกต้อง จะได้ยินเสียงที่ชัดเจนตามปกติ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการฟังด้วย สรุป เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ในปัจจุบันนี้ ทางบริษัทผู้ผลิตได้บรรจุฟังค์ชันต่างๆ เหล่านี้ไว้อย่างครบถ้วน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน เพื่อการปรับแต่งเสียงให้ถูกต้อง ถ้าหากเราทราบถึงหลักการการทำงานของฟังค์ชันต่างๆ จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชุดเครื่องเสียงติดรถยนต์ของคุณ ให้มีความชัดเจน ทั้งด้านมิติเสียง การแยกแชนแนลระหว่างลำโพงด้านซ้าย/ขวาในระบบสเตริโอที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงรายละเอียดของเสียงดนตรีที่ครบถ้วน
กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง |
||
กองหน้าผ้าเย็น
เขียนกระทู้: 0
ตอบกระทู้: 4
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
ขอบคุณครับ |
||