รู้หรือไม่…วิธีการกำจัดกลิ่นบุหรี่ในรถยนต์ต้องทำยังไง

ผู้เขียนข้อความ

KCAR

member
เขียนกระทู้: 40
ตอบกระทู้: 23
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
24 สิงหาคม 2560 15:17 - อ่าน: 2,065 - ตอบ: 0

     สวัสดีท่านผู้รักรถยนต์ทุกท่านครับ วันนี้ ช่างแอด โตโยต้ากรุงไทย ก็ได้กลับมาพบกับท่านผู้รักรถยนต์อีกครั้งแล้วนะครับ โดยคราวนี้ ช่างแอด ก็มี เกร็ดความรู้รถยนต์ มาแนะนำกันครับ ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยมักจะสูบบุหรี่ในขณะขับรถยนต์ไปด้วยความเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การเปิดกระจกสูบบุหรี่ แล้วขับรถยนต์ไปด้วยนั้น ลมจะช่วยพัดเอากลิ่นออกไปทำให้ห้องโดยสารไม่เหม็น ทว่าในความเป็นจริงการที่เราเปิดกระจกยิ่งทำให้ควันบุหรี่โถมเข้าสู่ห้องโดยสารซึ่งทำให้กลิ่นควันนั้นยิ่งติดแน่นทนนาน เช่นเดียวกันกับสารก่อมะเร็งเช่นเดียวกับที่เป็นของแถมและทำให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคไปในตัวด้วยซึ่งหลายคนที่ ซื้อรถยนต์โตโยต้า มามักประสบกับปัญหากลิ่นควันบุหรี่ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่ยากมากในการจัดการ โดยเฉพาะการทำให้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์นี้หมดไปอย่างแน่นอนครับ ลองดูวิธีของ ช่างแอด ก่อนนะครับอาจช่วยได้ครับ

1.สเปรย์ปรับอากาศ ไม่ว่ามากหรือน้อย สเปรย์ปรับอากาศ นับว่ายังเป็นทางเลือกแรกของเรา ในการขจัดกลิ่นต่างๆ ในปัจจุบันสเปรย์ปรับอากาศ มี 2 ชนิด คือ สเปรย์สร้างกลิ่นและดับกลิ่นโดยให้ท่านผู้รักรถยนต์เลือกสเปรย์แบบที่ 2 มาใช้ครับ จากนั้นให้ฉีดให้ทั่วรถยนต์อันเป็นที่รักของท่านเลยครับ โดยเฉพาะฉีดในช่องแอร์และซอกต่างๆ จากนั้น ปิดประตูทิ้งไว้สักระยะเวลา 1 คืน ซึ่งก่อนจะใช้รถยนต์อันเป็นที่รักครั้งต่อไป ช่างแอด แนะนำว่าให้เปิดประตูรถระบายให้หมดก่อนนะครับ

2.ทำความสะอาดภายในรถยนต์…เมื่อท่านผู้รักรถยนต์ได้ลงมือทำตามขั้นตอนแรกไปแล้ว ซึ่งในกรณีที่กลิ่นบุหรี่ไม่หนักมากนั้นมันก็จะทำให้กลิ่นหายทันทีครับ แต่ก็ใช่ว่าจะวางใจได้ เพราะควันนั้นมันอยู่ในทุกๆที่ โดยเฉพาะปัจจุบัน รถยนต์โตโยต้าและรถยนต์ค่ายอื่นๆแทบทุกรุ่นมีการปูพรมอยู่แล้วซึ่ง ทางที่ดีท่านผู้รักรถยนต์ต้องซักพรมโดยใช้บริการจากร้านล้างรถ เช่นเดียวกับเบาะนั่งด้วยในกรณีที่เบาะนั้นเป็นเบาะผ้า ก็ถือว่าเป็นการขจัดต้นตอของปัญหากลิ่นบุหรี่ไปด้วยครับ ไม่ใช่แค่เพียงพรมเท่านั้น แต่ชุดพลาสติกภายในต่าง โดยเฉพาะกระจกและแผงประตูต่างๆนั้น ยังเป็นที่เกาะของควันบุหรี่ด้วย ซึ่งในการขจัดกลิ่นออกจากอุปกรณ์ไปด้วย ดังนั้นแล้วท่านผู้รักรถยนต์ควรใช้น้ำเปล่าผสมกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จากนั้นก็ให้ท่านผู้รักรถยนต์ทำการเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดหรือทิชชู่ ก็จะช่วยให้คราบน้ำมันจากไส้บุหรี่ติดมาออก ส่วนบริเวณใดที่เป็นกระจกให้ใช้น้ำยาเช็ดกระจกทั่วไป เมื่อเสร็จแล้วอย่างลืมจัดการเคลือบ ด้วยน้ำยาเคลือบเงาพลาสติกด้วย

3.ทำความสะอาดระบบแอร์ โดยมากแล้วต้นตอของปัญหาเรื่องกลิ่นต่างๆนั้น มีปัญหาหลักอยู่ที่ตู้แอร์ซึ่งเป็นที่ อากาศมักจะถูกนำไปปรับอุณหภูมิให้เย็นสบายและอากาศที่มีควันบุหรี่เจือปนจะมีสิ่งไม่พึ่งประสงค์ต่างๆติดและเมื่อมันเป็นคราบฟังแน่นแอร์ก็จะมีกลิ่นนั้นๆ อยู่สม่ำเสมอเมื่อมีการใช้งาน ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจำเป็นต้องนำตู้แอร์ไปล้างตาม ศูนย์บริการ หรือร้านล้างรถบางแห่งที่มีเครื่องล้างตู้แอร์ ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่จำเป็นต้องถอดตู้มาล้างแล้ว ซึ่งขั้นนี้แล้วน่าจะทำให้หายกลิ่นหายไปอย่างแน่นอนครับ ! และได้ผลด้วย ช่างแอด บอกเลย

4.แอบเปิ้ลเขียว…สิ่งนี้ ช่างแอด บอกเลยแปลกแต่จริงและเป็นเรื่องแปลกแต่เชื่อหรือไม่ว่าแอบเปิ้ลเขียวนั้นมีความสามารถระงับสาร นิโคตินอย่างได้ผลและแม้รถคุณจะผ่านกระบวนการซักฟอกมาแล้วชุดใหญ่ แต่การนำแอบเปิ้ลมาผ่าแล้ววางไว้ตามจุดต่างๆ ในรถนั้นจะช่วยให้มันดูดซับนิโคตินที่อาจเหลืออยู่ ทำให้ได้ผลมากขึ้นอย่างชัดเจนและคงทำให้หมดปัญหาไป

           เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับวิธีของ ช่างแอด ยังไงก็ตามท่านผู้รักรถยนต์ก็สามารถนำไปใช้ในการดูแลรักษารถยนต์ของท่านได้อย่างแน่นอนครับ สำหรับ เกร็ดความรู้รถยนต์ ครั้งต่อไปที่ ช่างแอด จะมานำเสนอให้กันนั้นต้องคอยติดตามกันครับ อย่างไรก็ตามครับกลิ่นบุหรี่เป็นเรื่องที่มักไม่เข้าใครออกใคร แม้จะมีคนจำนวนมากที่ไม่สูบ แต่ก็มีหลายคนที่เป็นสิงห์อมควันก็ต้องดูแลรักษารถยนต์ของท่านไม่ให้มีกลิ่น บุหรี่นั้นก็สำคัญกับสุขภาพด้วยเช่นกันดังนั้นแล้วท่านผู้รักรถยนต์ก็อย่ามองข้ามกันนะครับ

===========================================

ท่านสามารถเช็กโปรโมชั่นรถดีๆ คลิกเลย : โปรโมชั่นรถโตโยต้า

ท่านสามารถสั่งจองรถยนต์โตโยต้าของเราทุกรุ่นได้ที่ : ซื้อรถยนต์โตโยต้า

ท่านสามารถนำรถเข้ารับการดูแลกับเราได้ที่ : ศูนย์บริการและอะไหล่ โตโยต้า กรุงไทย

ท่านสามารถนำรถของท่านมาซ่อมสีและตัวถังรถของท่านได้ที่ : ศูนย์ซ่อมตัวถังและสี โตโยต้า กรุงไทย

แก้ไขล่าสุดโดย KCAR เมื่อ 24 สิงหาคม 2560 - 15:18

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน