4 ประโยชน์ น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ คุณคาดไม่ถึง By Tiresbid

ผู้เขียนข้อความ

tiresbid

member
เขียนกระทู้: 135
ตอบกระทู้: 1
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
24 พฤษภาคม 2561 12:45 - อ่าน: 1,554 - ตอบ: 0

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวไทร์บิดทุกท่าน วันนี้ จอร์จ อยากจะพูดถึงเรื่องหลายๆท่านสงสัยและสอบถามกันบ่อยครั้ง น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) หรือ น้ำยาเติมในหม้อน้ำ จำเป็นต่อระบบเครื่องยนต์มากแค่ไหน ทำไมถึงต้องเติมด้วย ใช้แค่น้ำเปล่าอย่างเดียวไม่ได้เหรอ ฯลฯ จอร์จ อยากแนะนำแบบนี้ครับ สำหรับท่านใดทราบคำตอบดีอยู่แล้ว ถือว่าเป็นการเตือนความจำกันอีกรอบ แต่กับบางท่านเพื่อนๆที่เป็นมือใหม่ หรือขับเป็นอย่างเดียว แต่ดูแลไม่เป็น ลองมาทำความรู้จักกันดูสักหน่อย เพราะว่ามันสำคัญและความจำเป็นต่อระบบระบายความร้อนของรถยนต์เป็นอย่างมาก จอร์จ อธิบายส่วนผสมทีมีใน น้ำยาหล่อเย็น กันสักหน่อย

ส่วนประกอบหลักๆของมันจะมี น้ำ, สารหล่อเย็น (ETHYLENE GLYCOL), หัวเชื้อป้องกันสนิม และสิ่งแปลกแปลม ฯลฯ ดังนั้นความเข้าใจผิดคนส่วนใหญ่ คือ น้ำยาหล่อเย็น มีหน้าที่แค่ระบายความร้อน แต่จริงๆแล้วคุณประโยชน์แอบแฝงช่วยในรถยนต์ของเราสะอาดและพร้อมจะเผาไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

จอร์จ ขอพาเพื่อนๆมาชมถึงคุณสมบัติของ น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) ถึงคุณประโยชน์มากมาย ดังนี้

1. ป้องกันน้ำในระบบแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ซึ่งในบ้านเราจะไม่เห็นผลเท่าใดนัก เพราะประเทศไทยอากาศเมืองร้อนครับ

2. เพิ่มจุดเดือดของน้ำ คือ ชะลอการระเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะเวลาน้ำเดือดมันจะระเหยกลายเป็นไอที่ 100C ซึ่งถ้าผสมน้ำยาหม้อน้ำลงไปก็จะระเหยที่ 105 / 110 / 115 องศาเซลเซียส ตามสัดส่วนที่เราผสมลงไป (จอร์จ แอบเผยเทคนิคผสมน้ำยา อดใจไว้อ่านต่อ ในช่วงท้าย !)

3. ป้องกันการเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน เพราะเมื่อมีสนิมมันก็จะผุ กร่อน มีตะกอน น้ำยาจึงช่วยไม่ให้มีการอุดตันในรังผึ้งของหม้อน้ำ

4. หล่อลื่นปั๊มน้ำ ซีลปั๊มน้ำ และวาล์วน้ำ

ทั้งหมดนี้ 4 ข้อหลักๆคุณประโยชน์สำคัญ น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) เพื่อนๆคงทราบโดยทั่วกันแล้วนะครับ

มีประโยชน์ต่อเครื่องยนต์มากๆ หากเราไม่เติมน้ำยา ใช้แค่น้ำเปล่าอย่างเดียวก็ได้ (จอร์จ แนะนำกรณีฉุกเฉินเท่านั้น แล้วรีบไปเติมน้ำยาในทันทีครับ) เพราะมันจะส่งผลเสียต่อระบบระบายความร้อน และเครื่องยนต์อย่างรวดเร็ว เพราะหม้อน้ำรถยนต์ในปัจจุบันมักทำมาจากอะลูมิเนียม ทำให้สามารถเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน และเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย จอร์จ แนะนำวิธีตรวจสอบได้ด้วยตนเองง่ายๆ เพียงถอดท่อยางที่ต่อจากหม้อพักน้ำออกมาดู จะเห็นได้ว่ามันจะมีคราบ และร่องรอยของการเกิดตะกรัน

ซึ่งหากร้ายแรงมากๆ อาจถูกกัดกร่อนจนแตก ผุ แหว่ง และนำไปสู่ปัญหาใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้หม้อน้ำ แผงหม้อน้ำ และทางเดินน้ำเกิดการอุดตัน หรือรั่วซึม จนทำให้ระบบระบายความร้อนออกมาได้ไม่ดี น้ำในหม้อน้ำแห้ง จนเครื่องร้อนจัด และร้อนสูงขึ้น จนเกิดอาการ เพื่อนๆทราบกันดี คือ โอเวอร์ฮีท นั่นเอง (จอร์จเคยเขียนบทความไว้สามารถอ่านได้บนเว็บไซต์เลยครับ)

ถึงช่วงเพื่อนๆรอคอยกันแล้วนะครับ สำหรับการผสมใช้งาน น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) กับน้ำ ส่วนมากจะผสมกันในอัตราส่วน 50/50 ครับ หรือดูวิธีผสมได้ที่ข้างขวดของน้ำยาในแต่ละยี่ห้อก็ได้เช่นเดียวกัน ส่วนระยะการเปลี่ยนถ่ายก็ขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น และคุณภาพน้ำยาที่ใช้ด้วย เช่น บางรุ่นกำหนดไว้ทุกๆ 2 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร และบางรุ่นกำหนดไว้ที่ 100,000 – 200,000 กิโลเมตร ฯลฯ (ศึกษาดูเพิ่มเติมจากคู่มือยี่ห้อรถนั้นๆ)

สุดท้ายแล้ว เทคนิคการดูแลรถที่ดีที่สุด คือ ความใส่ใจ ครับ หากเราแบ่งเวลามาตรวจเช็กง่ายๆ เพียงเปิดฝากระโปรงหน้าอาทิตย์ละครั้งเพื่อสังเกตน้ำในหม้อน้ำ และหม้อพักน้ำสำรอง เพื่อจะได้รู้ทัน หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับหม้อน้ำจะได้รีบแก้ไขก่อนเกิดปัญหา เช่น น้ำในหม้อน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนด, น้ำแห้งเร็วเกินไป, มีคราบของน้ำยาหล่อเย็นหยด หรือเปื้อนตามจุดต่างๆ ที่เครื่องยนต์ และบนพื้นที่จอด ฯลฯ (สีของน้ำยาหม้อน้ำที่รั่วซึมจะสังเกตได้ง่าย เพราะสีที่ผสมเข้าไป เช่น สีเขียว สีชมพู ฯลฯ)

บทความนี้อาจจะยาวหน่อย แต่ข้อมูลแน่นๆเป็นประโยชน์แน่นอนครับ จอร์จ ขอฝากไว้เท่านี้จนกว่าจะพบกันใหม่ครับ ถ้าจะเลือกซื้อยางหรือเปลี่ยนยาง ให้ไทร์บิดได้ช่วยคุณนะครับ เว็บไซต์ของเรารวบรวมศูนย์บริการเปลี่ยนยางถึงบ้านในกรุงเทพฯ และ บริการเปลี่ยนร้านยางใกล้บ้าน รวมถึงจัดส่งยางออนไลน์ ถึง 3 บริการโดนๆเลย แถมเปรียบเทียบราคา และ ติดต่อซื้อยางง่ายดายสุดๆ ผ่านทาง Line@ : @tiresbid ได้เลยครับ หากไม่สะดวกพิมพ์อยากคุยกันมากกว่า โทรมาเลย : 080-589-4711 (คุณคิม) คุยง่าย แนะนำดี ไม่ผิดหวัง หากต้องการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ ฟรี ! (โปรโมชัน : เมื่อเปลี่ยนยางครบ 4 เส้น) สนใจแจ้งเข้ามาได้เลยครับ ขอบคุณครับ


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน