ติด ฉนวนแต่เสียง รบกวนยังไม่ลด เพราะเหตุใด?

ผู้เขียนข้อความ

siritidaphon

member
เขียนกระทู้: 1,318
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
13 มีนาคม 2563 15:38 - อ่าน: 788 - ตอบ: 0

ติด ฉนวนแต่เสียง รบกวนยังไม่ลด เพราะเหตุใด?

การติดตั้งฉนวนกันเสียง อาจไม่ได้ช่วยลดเสียงรบกวนได้มากเท่าที่ควร หากห้องหรือบ้านมีช่องรอยต่อที่ทำให้เสียงสามารถลอดผ่านถึงกันได้ง่าย ดังนั้น อีกปัจจัยสำคัญของการแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวน คือ การอุดปิดรอยต่อต่างๆ ให้มิดชิดเพื่อป้องกันเสียง

เสียงภายในบ้านเมื่ออยู่ในระดับที่พอดี ไม่เงียบหรือดังเกินไป ย่อมทำให้ผู้อาศัยรู้สึกสบาย ในขณะเดียวกัน เจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญปัญหาเรื่องเสียงที่เกินพอดี ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังจากข้างบ้าน เสียงดังจากถนนหน้าบ้าน จนรบกวนการใช้ชีวิตของสมาชิกในบ้าน จึงลงทุนซื้อฉนวนกันเสียงมาติด แต่พอติดตั้งไปแล้วกลับกลายเป็นว่าเสียงรบกวนไม่ได้ลดลงเท่าที่คิด เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ?

 

ขอย้อนไปถึงเรื่องวัสดุกับการกันเสียงก่อนว่า วัสดุแต่ละชนิดสามารถกั้นเสียงไม่ให้ทะลุผ่านได้มากน้อยต่างกัน และการติดตั้งฉนวนกันเสียงก็เป็นการเพิ่มความสามารถในการกั้นเสียงให้กับวัสดุนั้นๆ อย่างไรก็ตาม หากวัสดุนั้นมีรูหรือช่องที่ทะลุไปจนถึงอีกด้านก็จะเป็นช่องทางให้เสียงลอดผ่านได้ง่าย

 

ลองนึกภาพว่าเรากำลังอยู่ในห้องที่มีผนังล้อมรอบซึ่งแง้มประตูไว้เล็กน้อย โดยนอกห้องมีคนกำลังคุยกันอยู่ เสียงที่เราได้ยินจะมีทั้งเสียงที่ “ทะลุผ่านผนัง”และ ”ลอดผ่านช่องประตู” หากเราติดฉนวนกันเสียงที่ผนังจะเป็นการลดความดังของเสียงที่ทะลุผ่านผนังเท่านั้น ส่วนเสียงที่ลอดผ่านช่องประตูจะยังคงดังอยู่มากตราบใดที่เราไม่ปิดประตูให้สนิท จะเห็นได้ว่าการจะกันเสียงรบกวนได้ดี ไม่ใช่แค่ติดฉนวนกันเสียงอย่างเดียว แต่ควรปิดช่องต่างๆ ให้มิดชิดด้วย

 

ติดฉนวนที่ผนัง แต่ยังมีเสียงดังจากแหล่งสัญจร

หากบ้านอยู่ในทำเลซึ่งมีเสียงรบกวนจากภายนอกมาก เช่น เสียงการจราจรคับคั่ง เสียงเครื่องจักร เสียงจากฝูงชนอันพลุกพล่าน หรือแม้แต่ห้องคอนโดมิเนียมซึ่งติดกับทางเดินที่มีเสียงจอแจนั้น นอกจากการติดตั้งฉนวนกันเสียงเข้ากับผนังด้านที่ใกล้เสียงรบกวนแล้ว ควรเน้นเรื่องการป้องกันเสียงลอดตามรอยต่อ โดยเฉพาะช่องรอยต่อบริเวณประตูหน้าต่างด้วย จะให้ดีควรเลือกประตูหน้าต่างแบบบานติดตาย บานเปิด หรือบานกระทุ้ง ซึ่งมีรอยต่อน้อย สามารถอุดรอยรั่วรอบบานหน้าต่างเพื่อกันเสียงลอดได้แน่นหนากว่าหน้าต่างแบบบานเกล็ด บานเลื่อน ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพการกันเสียงที่ดียิ่งขึ้น อาจเลือกประตูหน้าต่างซึ่งมีการเชื่อมรอยต่อเนื้อวัสดุที่ดี มีระบบซีลที่แน่นหนาระหว่างบานกรอบกับวงกบและวงกบกับผนัง รวมถึงบางรุ่นที่เน้นการกันเสียงโดยซ่อนฉนวนกันเสียงภายในวงกบและบานกรอบ สำหรับบ้านที่ยังคงใช้ประตูหน้าต่างชุดเดิมให้หาซื้อเส้นขอบยางมาติดตามรอบวงกบประตูหน้าต่าง และช่องว่างใต้ประตู เพื่อให้สามารถปิดประตูหน้าต่างได้แนบสนิทยิ่งขึ้น

 

ผนังติดฉนวน แต่ยังมีเสียงกวนจากข้างห้อง

ปัญหาเสียงรบกวนจากข้างห้องที่อยู่ติดกัน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเดียวกัน หรือเสียงดังจากข้างบ้านในยูนิตถัดไปที่ใช้ผนังร่วมกันอย่างคอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม นั้น การติดฉนวนกันเสียงที่ผนังอาจช่วยได้ไม่มากเท่าที่ควรหากยังคงมีช่องทางต่างๆ ให้เสียงลอดถึงกันได้ง่าย อย่างช่องว่างระหว่างผนังกับใต้ท้องพื้น หรือช่องรอยต่อปลั๊กไฟที่ตรงกัน

ช่องว่างระหว่างผนังกับใต้ท้องพื้น กรณีที่ผนังไม่ชนกับใต้ท้องพื้น เสียงจากห้องหนึ่งจะลอดไปยังอีกห้องหนึ่งผ่านช่องเหนือผนังได้ง่าย ควรแก้ไขโดยต่อผนังขึ้นไปให้ชนติดใต้ท้องพื้นเพื่อป้องกันมิให้เสียงลอดถึงกัน

 

ตำแหน่งติดตั้งปลั๊กไฟที่ตรงกัน หากห้องที่ใช้ผนังร่วมกันติดตั้งปลั๊กไฟตรงกัน เสียงจะลอดผ่านถึงกันได้ง่าย ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการอุดปิดช่องปลั๊กไฟเดิม และย้ายไปติดตั้งตำแหน่งอื่น (ข้อควรระวังคือ หากเป็นผนังชนิด Precast ไม่ควรเจาะผนังเพื่อติดตั้งปลั๊กไฟใหม่ แต่ให้ใช้วิธีสร้างผนังเบาเพิ่มอีกชั้นแทน)

 

มาถึงตรงนี้ เจ้าของบ้านคงพอทราบถึงวิธีการป้องกันเสียงรบกวน ที่มิใช่แค่การติดตั้งฉนวนกันเสียง แต่เป็นการปิดช่องรอยต่อต่างๆ ให้มิดชิด ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่เจ้าของบ้านควรคำนึงอันดับต้นๆ ในการพิจารณาหาวิธีป้องกันเสียงรบกวน โดยหากปิดช่องรอยต่อจนมิดชิดแล้วพบว่าเสียงรบกวนยังคงมีมากอยู่ อาจติดตั้งฉนวนกันเสียงเพิ่มเติมที่ผนังหรือฝ้าเพดานในภายหลังก็ได้เช่นกัน

 

ติด ฉนวนแต่เสียง รบกวนยังไม่ลด เพราะเหตุใด? ดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน