ขึ้นรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด

ผู้เขียนข้อความ

smanpruksa

member
เขียนกระทู้: 82
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
8 พฤษภาคม 2563 15:11 - อ่าน: 10,356 - ตอบ: 0

แม้ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ลดความกังวลต่อผู้คนในสังคมมากยิ่งขึ้น ภาครัฐบาลเองก็เริ่มมีมาตรการในการเตรียมความพร้อมเพื่อปลดล็อกดาวน์กรุงเทพฯ ให้เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติในเร็ววัน แต่เพื่อความไม่ประมาท การใช้ชีวิตประจำวันของเรายังคงต้องปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการกินของร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว และล้างมือบ่อย ๆ รวมไปถึงการระมัดระวังตัวเองในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถสาธารณะ วันนี้มีข้อมูลจากกรมขนส่งทางบกมาฝากกันค่ะ

ตามที่กระทรวงคมนาคมได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัด มีมาตรการการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท เช่น รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ รถสองแถว หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง กรมการขนส่งทางบกจึงได้กำชับไปยังผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท รวมถึงผู้ให้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกแห่ง ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมอย่างเคร่งครัด ดังนี้

สำหรับประชาชนที่เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ

  1. ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง
  2. งดพูดคุยโทรศัพท์ในระหว่างโดยสารรถสาธารณะ
  3. ควรล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ชนิดเจลหรือน้ำทุกครั้งที่มีการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ในที่สาธารณะ
  4. กรณีโดยสารรถแท็กซี่ควรนั่งตอนหลังของรถเพื่อเว้นระยะห่างระหว่างผู้ขับรถและผู้โดยสาร ลดความเสี่ยงการติดต่อ

สำหรับผู้ขับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท 

  1. ให้สังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากป่วย มีอาการไข้ ไอ จาม ห้ามขับรถเด็ดขาด ควรกักตัวที่บ้านเพื่อสังเกตอาการ
  2. ขณะให้บริการหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ชนิดเจลหรือน้ำบ่อย ๆ
  3. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาให้บริการ
  4. หากในระหว่างขับรถมีผู้โดยสารไอ จาม ให้ปิดแอร์แล้วเปิดหน้าต่างระบายอากาศ เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสสะสมอยู่ในรถ ลดโอกาสการติดเชื้อของผู้ขับรถและผู้โดยสารท่านอื่น

การดูแลความสะอาดภายในรถโดยสารสาธารณะ

  1. จัดให้มีแอลกอฮอล์ชนิดเจลหรือน้ำประจำรถ
  2. หมั่นเปิดหน้าต่างให้อากาศภายนอกหมุนเวียน หรือเปิดหน้าต่างระหว่างให้บริการ
  3. ทำความสะอาดรถทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการให้บริการ โดยเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มีผู้โดยสารสัมผัสบ่อย ๆ
  4. กรณีให้บริการผู้โดยสารที่ มีการไอ จาม หรือ ไม่สบาย ระหว่างเดินทาง ควรใช้แอลกอฮอล์ 70% ในการทำความสะอาดภายในรถ
  5. ควรเปิดประตูและหน้าต่างรถหรือเปิดช่องระบายอากาศ เพื่อระบายอากาศภายในรถ เมื่อต้องจอดรถพักคอยอยู่ในเวลาพักรถ

การให้บริการของรถโดยสารสาธารณะและการให้บริการที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร

  1. ดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือมาตรการ Social Distancing เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร เช่น เว้นเบาะที่นั่งในรถตู้โดยสารและรถโดยสารประจำทาง กำหนดพื้นที่ยืนบนรถเมล์
  2. ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทุกแห่งจะมีมาตรการคัดกรองผู้โดยสารทุกคนก่อนการเดินทาง รวมถึงตรวจคัดกรองพนักงานขับรถและผู้ประจำรถ หากพบผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ผู้ให้บริการมีสิทธิปฏิเสธการให้บริการได้
  3. หากประชาชนพบรถโดยสารไม่ปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing หรือมาตรการอื่น ๆ ที่ภาครัฐกำหนดเพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตกันคนละนิด เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของทุกคนในสังคม ขอบคุณข้อมูลจาก www.smk.co.th

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน