TIRESBID เกร็ดความรู้ : โช็คอัพ! สปริงแข็ง Vs สปริงอ่อน เซ็ทแบบไหนเหมาะกับที่สุด

ผู้เขียนข้อความ

tiresbid

member
เขียนกระทู้: 135
ตอบกระทู้: 1
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
28 ตุลาคม 2563 10:40 - อ่าน: 3,000 - ตอบ: 0

สวัสดีครับ คุณผู้อ่านและคุณลูกค้าทุกท่าน จอร์จไทร์บิด ผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ ยินดีต้อนรับครับ เกร็ดความรู้ยานยนต์ในคราวนี้ จอร์จ อยากจะบอกว่า นอกจากความหล่อของชุดแต่ง หรือความแรงของเครื่องยนต์แล้ว ช่วงล่างก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันเลย เพราะทุกสิ่งที่ว่ามาจะทำงานไม่ได้ หากไร้ช่วงล่างสมรรถนะเยี่ยม แต่ทว่าการเซ็ตค่าต่างก็เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนไม่น้อย จุดสำคัญที่สุดคือ สปริงและโช้คอัพ โดยคำถามยอดฮิตคือ “ จะเซ็ตสปริงแข็ง หรืออ่อนดี ” เพราะการเซ็ตค่าสปริงให้แข็งหรืออ่อนนั้น ส่งผลต่อการขับขี่โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม พวกเราไม่ได้มีรถไว้ใช้แข่งในสนาม จึงต้องทำรถให้มันเอื้อต่อการใช้งานประจำวันอีกด้วย วันนี้เราจะมาชมกันครับว่า สปริงแข็ง กับ สปริงอ่อน ใส่แบบไหนตอบโจทย์กว่ากัน และโช้คอัพจะต้องแต่งตามด้วยหรือไม่

สปริง คือ อุปกรณ์ยุบยืดตามแรงกระทำระหว่างล้อรถกับตัวถัง ซึ่งคำตอบจากคำถามด้านบน หลายๆ คนต้องตอบในใจแล้วว่าสปริงแข็งสิดี ขนาดรถ Sport หรือ Supercar หลายๆ คัน ยังเซ็ตสปริงให้แข็งเลย ฉะนั้นมันต้องดีกว่าอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ได้ผิด แต่ถ้าว่ากันตามจริง สปริงอ่อนนั้นสามารถให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ดีได้เช่นกัน เพราะว่าจุดประสงค์หลักของสปริงและโช้คอัพ คือ การทำให้ล้อติดถนนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นสปริงอ่อนสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้มากที่สุด หากเพื่อนๆ ยังจินตนาการไม่ออก เรามาชมตัวอย่างกันครับ

สมมุติว่ามีล้อ 2 วง ที่กำลังจะตกหลุมขนาดทั่วไปที่ลึก 20 มม. และให้ล้อทั้งคู่รับน้ำหนักรถยนต์ที่ 1,000 กก. พอสปริงโดนน้ำหนักรถกดทับ ก็ต้องค่าการยุบตัวบ้าง โดยให้ล้อวงแรกใช้สปริงอ่อน สมมุติว่ายุบตัว 100 มม. กับล้อวงที่สองซึ่งใช้สปริงแข็ง สมมุติว่ายุบตัวที่ 10 มม. เมื่อนำไปลงหลุมเดียวกันแล้วผ่านการคำนวนตามสูตร ซึ่งถ้าจะให้อธิบายแบบทะลุปรุโปร่ง อาจจะฟังดูน่าเบื่อ เอาเป็นว่ามีการคำนวนออกมาให้แล้ว ผลที่ได้คือ

 

สปริงอ่อน

ขนาดหลุมที่ลึก 20 มม. แต่ตัวของสปริงมีการยุบตัวอยู่แล้วที่ 100 มม. ฉะนั้นเมื่อลงหลุม แรงกดที่เหลือเฟือจะทำการดันสปริงลง ทำให้ล้อสัมผัสพื้นได้เร็วกว่านั่นเองครับ ซึ่งยิ่งล้อสัมผัสพื้นมากเท่าไหร่ ยิ่งเกาะถนนกว่า

 

สปริงแข็ง

ที่ขนาดหลุมลึกเท่ากันแต่ทว่า ตัวของสปริงยุบตัวเพียง 10 มม. ทำให้เมื่อลงหลุมขนาด 20 มม. สปริงไม่สามารถทำการดีดตัวออกมาได้สุด ทำให้ตัวรถตกลงมาตามแรงดึงดูดโลก ซึ่งอาจจะทำให้มันไม่นิ่มนวลเท่าที่ควรนั่นเองครับ

ถ้าสปริงแข็งมันไม่ดี แล้วเขาจะทำมาทำไม ?

สปริงแข็งนั้น ความจริงแล้วมันมีประโยชน์เอามากๆ เลยนะครับ แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างที่การนำมาใช้บนท้องถนนแล้ว อาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ แต่ถ้าอยู่ในที่เหมาะสมแล้วล่ะก็ จะสามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างดีเลยทีเดียว ซึ่งประโยชน์ของมันก็มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น “การรักษาระดับความสูงให้คงที่ ในตำแหน่งรถแข่งให้เหมาะสมที่สุด เพื่อหลักของอากาศพลศาสตร์ การที่ใส่สปริงแข็งทำให้รถนั้นมีความสูงที่คงที่ และยังสามารถรักษาระดับความห่างของใต้ท้องรถได้เป็นอย่างดีครับ รวมถึงถนนในสนามแข่งไม่มีหลุมบ่อ จึงเหมาะสมกว่าที่จะใส่สปริงแข็งครับ

แล้วทำไมต้องปริงแข็ง ช่วยลดอาการโคลงตัวของรถ (Reduce Body Roll)

ในจังหวะเข้าโค้ง เป็นช่วงที่ตัวรถเกิดการถ่ายเทน้ำหนักโค้ง (Weight Transfer) ไปที่ ‘ยางคู่นอก’ ซึ่งถ้าหากว่ายางคู่นอก ได้รับภาระมากเกินไป ก็จะไม่สามารถสร้างแรงยึดเกาะได้ (เกิดการสลิป) และส่งผลให้รถเสียการควบคุม

ถ้าเพื่อนๆผู้ผู้อ่านท่านใดที่ชอบดูรถแข่ง คงจะเคยเห็นจังหวะรถแข่งพวกนี้เข้าโค้งด้วยความเร็วสูง ในจังหวะเข้าโค้งนั้น บอดี้ของรถแข่งจะมีการโคลงน้อยมาก (Body Roll น้อยมากๆ) ซึ่งเป็นผลมาจากการเซ็ทอัพสปริงที่มีค่า k สูงๆ ทำให้ตัวรถมีอาการโคลงน้อยลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการถ่ายเทน้ำหนักระหว่างเข้า ทำให้ยางทั้ง 4 เส้นได้รับภาระในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถสร้างแรงยึดเกาะในขณะเข้าโค้งได้เพิ่มขึ้น

ส่วนโช้คอัพก็ต้องไม่ลืมที่จะเลือกความหนืดที่เหมาะสมกับเรตสปริงด้วย หากใส่สปริงนุ่มที่มาจากโรงงาน ควรใส่โช้คหนึบเพิ่มกว่าเดิม เป็นสเต็ปการแต่งที่นิยมกัน เพราะช่วยลดการเด้งของสปริงได้ดีขึ้น แต่ถ้าใส่สปริงแต่งหรือสปริงโหลดที่เตี้ยและแข็งกว่าเดิม ก็ต้องเลือกโช้คให้หนืดไปอีก จะได้ไม่เป็นภาระทำให้ช่วงล่างเสียหาย ซึ่งบางคนนิยมจ่ายเพิ่ม เพื่อใส่โช้คปรับความหนืดได้เองเลยก็มี เพียงเท่านี้ก็พอจะทราบสเต็ปการแต่งช่วงล่างที่ถูกต้องแล้ว

บทสรุป

สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลโดยทั่วไป ที่ต้องวิ่งใช้งานบนถนนปกติแล้ว จะมีการเซ็ทอัพสปริงที่มีค่า k ที่ไม่สูงมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการความสบายในการขับขี่ (รถบ้าน ช่วงล่างไม่แข็งกระด้าง ไม่กระเด้ง-กระดอน)

และถึงแม้ว่า สปริงที่มีค่า k น้อย จะสามารถสร้าง ‘Mechanical Grip’ ได้มากกว่า แต่สำหรับรถแข่งประเภทเซอร์กิตนั้น เลือกที่จะเซ็ทอัพสปริงแบบแข็งๆ เพื่อที่จะเพิ่มสมรรถนะการควบคุม และการตอบสนองของตัว ตลอดจนสร้างความได้เปรียบในเชิงอากาศพลศาสตร์คราวต่อไป จอร์จ ยังมีความรู้เรื่องรถมาฝากกันอีก อย่าลืมติดตามกันนะครับ

New Group : TIRESBID-ONLINE ชวนเข้าร่วมกลุ่ม แชร์ประสบการณ์ & สิทธิพิเศษก่อนใคร https://www.facebook.com/groups/tiresbidonline/

New Chat : Tiresbid Line Square ห้องแชทแห่งความลับ แชร์ถาม-ตอบ

เรื่องยางแบบส่วนตัว คลิกเลย : http://bit.ly/LINESQUARE-TIRESBID

New Channel : Tiresbid on YouTube ชวนมากด Like & Subscribe กันเยอะๆนะครับ คลิกเลย : http://bit.ly/TiresbidYoutube

หากลูกค้าไทร์บิดหายห่วงเลยครับ จอร์จ บริการช่วยเหลือประสานงาน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ได้ตลอดเวลาทำการฟรี หรือ สนใจเช็คราคานัดหมายติดต่อซื้อยางง่ายดายสุดๆ ผ่านทาง Line Official : @tiresbid ได้เลยครับ หากไม่สะดวกพิมพ์อยากคุยกันมากกว่า โทรมาเลย : 094-958-7416 / 090-986-8762 คุยง่าย แนะนำดี ไม่ผิดหวัง วันนี้ก็ขอตัวแล้วครับโอกาสหน้าเรากลับมาเจอกันใหม่ครับ ส่งท้ายหากเพื่อนต้องการ ให้จัดหายาง สั่งยี่ห้อใดรุ่นใด ไซส์ใดเป็นพิเศษ สนใจแจ้งเข้ามาได้เลยครับ จอร์จและทีมงานยินดีให้บริการเต็มที่ ขอบคุณครับ

ยางรถยนต์ราคาถูก, ยางราคาถูก, ราคายางรถยนต์, เปลี่ยนยางรถยนต์, เปลี่ยนยางรถยนต์ราคา, ร้านขายยาง,

ร้านยางรถยนต์, ราคายาง maxxis, ราคายาง dunlop, ราคายางมิชลิน, ราคายางบริสโตน, ยาง hankook

ยาง goodyear, Continental, Firestone, BFGoodrich, ยาง apollo, Lazada, shopee, เช็คราคายางถูก, ศูนย์รวมร้านขายยาง, ร้านขายยางคนไทย, ยางออนไลน์, Toyota, Honda, Mazda, Mitsubishi, Ford, Nissan, Chevrolet, Hyundai, Isuzu, BMW, Benz, Volvo, Landrover, Audi, Porsche, Volkswagen, โปรโมชั่นยางรถยนต์, เช็คราคายางรถยนต์,

ราคายางล่าสุด, ยางรถยนต์ออนไลน์, ยางถูก, ยางมิชลิน, ยาง dunlop, ยาง maxxis, ยางบริสโตน, tiresbid, เปลี่ยนยางถึงบ้าน, michelin, bridgetone, เช็คราคายางรถยนต์, ยางรถยนต์ราคา, ยางถูก, ยางรถ และ เปลี่ยนยางไทร์บิด, ยาง continental, continental, goodyear, ยางดันลอป, ยางฮันคุก, ที่ 1 เรื่องยาง, เปลี่ยนยางถึงที่, เปลี่ยนยางถึงบ้าน

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน