สถานีขนส่งผู้โดยสาร บขส. มีที่ไหนบ้าง ? เดินทางอย่างไร ?

ผู้เขียนข้อความ

smanpruksa

member
เขียนกระทู้: 82
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
3 พฤษภาคม 2566 14:40 - อ่าน: 249 - ตอบ: 0

การเดินทางด้วยระบบขนส่งผู้โดยสารในปริมาณมากช่วงเทศกาล มักมีความแตกต่างกันออกไปตามความสะดวก ความจำเป็น และงบประมาณค่าเดินทางของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางด้วยเครื่องบิน รถไฟ ทางเรือ หรือรถยนต์ส่วนตัว โดยเฉพาะรถโดยสารประจำทางข้ามจังหวัด ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนหลากหลายกลุ่มที่ต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือออกเดินทางท่องเที่ยว สถานีขนส่งผู้โดยสารในกรุงเทพมหานคร จึงนับว่าเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่จะช่วยขนส่งผู้โดยสารให้กระจายออกไปทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ จะมีที่ไหนบ้าง แล้วเดินทางอย่างไร มีข้อมูลมาฝาก

สถานีขนส่งผู้โดยสาร คืออะไร ?

สถานีขนส่งผู้โดยสาร (Bus Terminal) เป็นสถานที่ที่รถโดยสารจากหลาย ๆ สายมาจอดรวมในบริเวณเดียวกันและมีบริการต่าง ๆ จัดไว้ให้ เช่น ที่พักผู้โดยสาร ห้องสุขา ห้องอาหาร เป็นต้น ไว้สำหรับการบริการผู้โดยสาร มีการเก็บค่าใช้สถานีตามประเภทของรถโดยสารตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก โดยกรมการขนส่งจะทำหน้าที่กำกับดูแลสถานีขนส่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ 

สถานีขนส่งผู้โดยสาร บขส. มีที่ไหนบ้าง ?

ปัจจุบัน บริษัทขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ( www.transport.co.th ) มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการจากกรมการขนส่งทางบกจำนวน 7 แห่ง แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานครจำนวน 3 แห่ง สถานีในส่วนภูมิภาค 4 แห่ง ได้แก่

    1. สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2

    2. สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย

    3. สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ ถนนบรมราชชนนี 

    4. สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุพรรณบุรี

    5. สถานีขนส่งผู้โดยสาร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

    6. สถานีขนส่งผู้โดยสาร อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

    7. สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี 

นอกจากการบริการสถานีขนส่งผู้โดยสารจำนวน 7 แห่งแล้ว บริษัทฯยังมีที่ทำการสถานีเดินรถในส่วนภูมิภาคอีกจำนวน 113 สถานี อีกด้วย

เดินทางไปยังสถานีขนส่งหมอชิตอย่างไร?

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ หมอชิต หรือสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ หมอชิต 2 หรือที่เรียกว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร เป็นสถานีขนส่งในกรุงเทพฯ ที่ให้บริการรถประจำทางสายด่วน ไปยัง ภาคเหนือ ของประเทศไทย เช่น พิษณุโลก, สุโขทัย, และเชียงใหม่ สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิตจึงมักถูกเรียกว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารเขตภาคเหนือ ในกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ หมอชิต อยู่ในเขตจตุจักร อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต และสถานีรถไฟใต้ดินจตุจักรโดยใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 15 นาที หากมาจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือ MRT สามารถโดยสารรถประจำทางหรือแท็กซี่ไปยังสถานีขนส่งได้ มีรถโดยสารประจำทางหลายสายที่ผ่านสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและสถานีรถไฟใต้ดินไปที่สถานีขนส่ง อย่างไรก็ตาม หากเดินทางด้วยรถแท็กซี่อาจจะสะดวกกว่าและมีราคาประมาณ 100 บาท หรือสามารถเช่ารถจักรยานยนต์รับข้าง เพื่อไปยังสถานีขนส่งได้เช่นกัน

เดินทางไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) อย่างไร?

สถานีขนส่งกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สายใต้ใหม่ ของผู้เดินทางทั่วไป ตั้งอยู่บนถนนบรมราชชนนี ซึ่งให้บริการรถโดยสารประจำทางไปยังภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดกระบี่,สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, ภูเก็ต, และหาดใหญ่ 

วิธีเดินทางที่สะดวกที่สุด คือการเรียกรถแท็กซี่ แม้ว่าอาจมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็ยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการลดระยะทางให้สั้นลงด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เช่น นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอส ไปลงสถานีสยาม และเปลี่ยนรถไฟฟ้าสายสีลม ไปลงยังสถานีบางหว้า และสามารถขึ้นรถบัส หรือรถแท็กซี่ ต่อไปยัง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่)

สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารสาย 28 (สายอำเภอไทรน้อย) หรือ 159 164 หรือ 177 หรือ 183 หรือ 201 หรือ 515 หรือ 539 หรือ 542 แนะนำให้ใช้สาย 515 เนื่องจากไม่มีป้ายหยุดรถโดยสารมากจึงสามารถใช้เวลาถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น

เดินทางไปยังสถานีขนส่งภาคตะวันออกกรุงเทพฯ (เอกมัย) อย่างไร?

สถานีขนส่งภาคตะวันออกกรุงเทพฯ (เอกมัย) ตั้งอยู่บน ถนนสุขุมวิท และไม่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าเอกมัยมากนัก โดยใช้เวลาเดินจากสถานีรถไฟฟ้าเอกมัยไปยังสถานีขนส่งเอกมัยเพียง 5 นาที มีให้บริการรถโดยสาร และรถตู้ จาก กรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดทางภาคตะวันออก ซึ่งจะรวมเส้นทางจาก กรุงเทพฯ ไป ตราด , ระยอง, สระแก้ว, จันทบุรี, ชลบุรี และพัทยา

เนื่องจาก สถานีขนส่งสายตะวันออกเอกมัยตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อยห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิประมาณ 50 นาที จึงสามารถเดินทางได้ด้วยรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท และลงที่สถานีเอกมัย หรือจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสถานีขนส่งสายตะวันออกเอกมัย – ขึ้นแอร์พอร์ตลิงค์ ไปยังสถานีมักกะสัน (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี) เปลี่ยนเป็น MRT และจากสถานีเพชรบุรีไปยังสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท (สถานีรถไฟฟ้าอโศก) จากนั้นเปลี่ยนเป็นขึ้น BTS อีกรอบ เพื่อไปยัง สถานีรถไฟฟ้าเอกมัยก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ หากเดินทางจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ก็สามารถนั่ง MRT จากสถานี MRT หัวลำโพงไปยังสถานี MRT สุขุมวิท (สถานีรถไฟฟ้า BTS อโศก) ซึ่งต้องเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า BTS จากนั้นเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้า BTS อโศกไปยังสถานีรถไฟฟ้าเอกมัยได้อีกด้วย

เดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย อุ่นใจทุกครั้งที่ออกเดินทาง ด้วยประกันรถยนต์ตามเวลา ประกันชั้น 1-3+ เลือกได้ตามใจ ให้ความคุ้มครอง 3, 6, 12 เดือน จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต

สนใจรายละเอียดและเช็กเบี้ยได้ที่ คลิก www.smk.co.th/productmotordetail/1020 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance

และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน