ฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดีที่สุด

ผู้เขียนข้อความ

siritidaphon

member
เขียนกระทู้: 1,318
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
15 กันยายน 2566 21:33 - อ่าน: 239 - ตอบ: 0

เข้าใจคำว่าฉนวนกันเสียงก่อน

ฉนวนกันเสียงเป็นชื่อเรียกวัสดุที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันเป็นอย่างมาก เพราะคนส่วนใหญ่จะเรียกวัสดุซับเสียง (sound absorptive materials) และวัสดุกันเสียง (soundproofing materials) รวมๆกันว่า “ฉนวนกันเสียง” โดยมีความเข้าใจว่าเป็นวัสดุที่ต้องการนำมาใช้ในการลดเสียงดังรบกวนนั่นเอง ซึ่งตามหลักการของงาน acoustic หรือ noise control นั้น ฉนวนกันเสียง คือ ฉนวนหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการต้านทานแรงดันเสียงซึ่งเคลื่อนที่จากด้านหนี่งไปยังอีกด้านหนึ่ง

 

ความแตกต่างของฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง

ฉนวนกันเสียงมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เสียงผ่านหรือผ่านได้น้อยที่สุด หลักการทำงานคือการสะท้อนเสียงกลับ วัสดุประเภทกันเสียงส่วนใหญ่จะมีผิวเรียบมัน มีน้ำหนักมาก ตัวชี้วัดประสิทธิภาพคือค่า TL (Transmission Loss) หรือค่า STC (Sound Transmission Class) แต่ฉนวนซับเสียงมีหน้าที่ในการดูดซับพลังงานเสียง เพื่อให้มีการสะท้อนกลับน้อยที่สุด วัสดุประเภทซับเสียงส่วนใหญ่จะมีผิวเป็นรูพรุน หรือผิวหยาบ ผิวไม่เรียบและมีโครงสร้างข้างในเป็นโพรงหรือเส้นใย มีค่าบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการซับเสียงคือ SAC (Sound Absorption Coefficient) หรือค่าสัมประสิทธิ์การซับเสียง

 

เลือกฉนวนกันเสียงแบบไหนดีที่สุด

ฉนวนกันเสียงที่ดีคือฉนวนหรือวัสดุที่นำมาใช้แล้ว แก้ปัญหาเสียงดังรบกวนได้ผลเป็นที่พึงพอใจเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป เพราะฉะนั้นฉนวนกันเสียงที่ดีที่สุดคือฉนวนที่ให้ความพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบ เพราะฉนวนกันเสียงที่ดีที่สุดหรือวัสดุที่มีค่า STC หรือ TL สูงสุด อาจจะมีราคาที่สูงเกินไป จนผู้ใช้หรือผู้ออกแบบ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง แต่คุณสมบัติทั่วไปที่ควรมีของฉนวนกันเสียงที่ดี ได้แก่

มีค่า STC หรือ TL ที่เหมาะกับความต้องการ

ไม่ลามไฟ ไม่เป็นเชื้อเพลิง

หาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะปริมาณน้อยหรือมาก

สะดวกและง่ายในการติดตั้ง

สะดวกในการทำความสะอาดหรือไม่ต้องทำความสะอาดเลย

ปลอดภัยต่อระบบหายใจและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ไม่เป็นขยะพิษ เมื่อทำการรื้อถอน

 

ประสิทธิภาพของฉนวนกันเสียง

ความสามารถในการกันเสียงของฉนวนกันเสียงนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมไปถึงระดับเสียง พลังงานเสียง สภาวะแวดล้อม วิธีการติดตั้ง ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงและผู้รับเสียง หากระดับเสียงที่ต้องการลดลงหรือป้องกัน ไม่ได้มีความเข้นข้น (sound intensity) สูงจนเกินไป ฉนวนซับเสียงหรือว้สดุซับเสียงทั่วไปในท้องตลาด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แต่หากว่าระดับเสียงที่ต้องการลดมีค่าสูงมาก ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบจะต้องเลือกวัสดุกันเสียงเฉพาะทางที่สามารถก้นเสียงแบบนั้นได้โดยตรง ประสิทธิภาพของฉนวนกันเสียงดูได้จากค่า STC และ TL ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น

 

ฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดีที่สุด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน