2 เทคนิคพุ่งแซงทันใจ มั่นใจด้วยเกียร์ออโต้ By Tiresbid

ผู้เขียนข้อความ

tiresbid

member
เขียนกระทู้: 135
ตอบกระทู้: 1
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
12 เมษายน 2561 10:39 - อ่าน: 4,525 - ตอบ: 1

สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกท่านวันนี้ จอร์จ อยากจะแชร์ประสบการณ์บนท้องถนนกันสักหน่อยครับ เพื่อนๆเคยรู้สึกแบบจอร์จไหมครับ ช่วงจังหวะเร่งแซง หรือ เราต้องการหักหลบสิ่งกีดขวาง

รู้สึกรถถยนต์ของเราตอบสนองได้ไม่ดีเท่าที่ควรเลย จะไปแต่งรถเพิ่มให้มันแรงก็จะเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นใช่ไหมละครับสมัยนี้เพื่อนๆออกรถรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ใช้เกียร์อัตโนมัติกันหมดแล้ว

ดังนั้น จอร์จ จะมาแชร์เทคนิคการเปลี่ยนเกียร์ เพิ่มอรรถรสในการขับขี่ ฟิลลิ่งเดียวกับนักแข่งรถก็ว่าได้ แต่ต้องคำนึงความปลอดภัยเป็นหลักนะครับ เริ่มกันเลยที่ เกียร์อัตโนมัตินอกจากขับขี่สบายไม่เมื่อยเท้าแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ให้วุ่นวายเหมือนเกียร์ธรรมดา แต่ความสนุกสำหรับเพื่อนๆรักความเร็วหรือในรถสปอร์ตคงไม่ปฎิเสธว่า เกียร์กระปุก นี่แหละของดีเลย เข้าเรื่องกันต่อ แต่ข้อเสียของเกียร์อัตโนมัติเพื่อนๆใช้รถคงทราบกันดี ก็คือ อาการ ' รอรอบ เกิดตอนไหน

น่าหงุดหงิดสุด ต้องตอนกดคันเร่งแซงนี่แหละครับ

เพราะแรงจากเครื่องยนต์ไม่ส่งกำลังให้เพิ่มขึ้นในทันทีทันใด ซึ่งอาการที่ว่านี้ปัจจัยมาจากเกียร์ของรถในแต่ละรุ่นด้วยนะครับ ว่ามีการเซ็ทมาให้เปลี่ยนช้าเร็วมากน้อยขนาดไหน เพื่อคงจะเคยได้ยินเรื่อง อัตราทดเกียร์ กันบ้างนะครับ จอร์จ ไม่ได้ลงลึกขอฝากไว้เกร็ดความรู้ ซึ่งการเร่งแซงด้วยเกียร์อัตโนมัติหากเราไม่อยากต้องเซง ' รอรอบ ' สามารถทำได้นะครับ จากที่เกริ่นกันมาจุดนี้ จอร์จ บอกว่าเพื่อนๆจะได้อ่านเนื้อหาเข้มข้นต่อไปนี้ ขอนิยามไว้เลยว่า “ ช่วยให้เร่งแซงได้อย่างทันใจ แถมเพิ่มความปลอดภัยได้อีกต่างหาก “

แบ่งออกเป็น 2 กรณียอดนิยม ดังนี้

1.ในกรณีไม่มีตำแหน่ง + -

รถบางรุ่นที่ไม่มีตำแหน่งเกียร์แบบ + - จะมาพร้อมลำดับเกียร์แบบ P R N D 2 L (อาจมีตำแหน่ง 3 หรือ S หรือมีเฉพาะตำแหน่ง L ขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น) เพื่อนๆอาจสงสัยแล้วให้ใช้ตอนไหนดีใช่ไหมครับ จังหวะเร่งแซงก็เตรียมพร้อมเพียงแค่เปลี่ยนเกียร์ตำแหน่งถัดจาก D ลงมาจะเป็นการเปลี่ยนอัตราทดให้จัดขึ้น รอบเครื่องยนต์จะพุ่งสูงขึ้นทันที จากนั้นให้กดคันเร่งเพื่อแซงตามปกติ จะเห็นได้ว่าเครื่องยนต์ตอบสนองได้ทันใจมากขึ้นกว่าเดิมครับ แถมยังไม่มีอาการรอรอบให้เห็น เมื่อแซงเสร็จเรียบร้อย ให้ผลักเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D เหมือนเดิม เพื่อลดอัตราสิ้นเปลืองมาอยู่ในระดับปกติ

2.ในกรณีมีตำแหน่ง + -

หากรถของเพื่อนๆมีตำแหน่ง + - ก็เพียงแต่ผลักคันเกียร์ไปตำแหน่ง M (หรือ M/S ในรถบางรุ่น) ซึ่งรถประเภทนี้บางรุ่นมักจะมีโหมดการขับขี่มาให้ด้วย เราอาจตั้งค่าให้เข้าสู่โหมดสปอร์ตและระบบจะทำการลดเกียร์ลงมาให้ทันที ซึ่งกรณีนี้ถือว่าพร้อมจะเร่งแซงแล้ว แต่หากไม่ลดตำแหน่งเกียร์ให้ ก็ผลักคันเกียร์ไปตำแหน่ง – (ลบ) อัตราทดจะลดลงมา 1 จังหวะ เพื่อเรียกกำลังจากเครื่องยนต์ให้มากขึ้น โดยรอบไม่ลดลง เป็นเพียงการชะลอจังหวะเพื่อกดคันเร่งต่อได้เลยครับ แต่หากเพื่อนๆบอกยังไม่สุด จอร์จ ขอจัดเต็มเลย ต้องกางอัตราเร่งแบบสุดๆ ก็ให้ลดลงมา 2 จังหวะครับ จะช่วยเพิ่มแรงบิดจากเครื่องยนต์ได้มากกว่า (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเร็วในขณะนั้นด้วย เพราะหากใช้ความเร็วเกินกว่าความเร็วสูงสุดของเกียร์นั้นๆแล้ว ระบบอาจไม่ลดเกียร์ลงมาให้) ถึงแม้จะเกียร์อัตโนมัติ แต่ก็ได้อารมณ์คล้ายๆกับเกียร์ธรรมดาได้เหมือนกันครับ

นอกจากนี้ วิธีนี้ยังสามารถใช้กับกรณีที่ต้องการแรงเบรกจากเครื่องยนต์ในยามคับขัน หรือเวลาขับลงทางลาดชันยาวๆ การเชนเกียร์ ช่วยเพิ่มแรงเบรกจากเครื่องยนต์ (หรือที่เรียกกันว่าเอนจิ้นเบรก) ช่วยให้เบรกรถได้ทันใจ แถมยังลดภาระของระบบเบรกได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ

ดังนั้น หากขับลงเขาเป็นทางยาวๆ ก็ควรลดตำแหน่งเกียร์ลงมาเพื่อเสริมระบบเบรกปกติ ไม่ให้เบรกร้อนจนเกิดอาการเฟด หรือเบรกหาย นั่นเอง เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ง่ายมากๆเลยใช่ไหม แถม ไม่ต้องเสียเงินค่าอุปกรณ์ชุดแต่งเพิ่มด้วย หากเพื่อนๆอยากได้ความมั่นใจในการขับขี่ เพิ่มความปลอดภัย ยามต้องหักหลบหรือยามขับขัน จอร์จ มีตัวช่วยยางรถยนต์คุณภาพดีตอบโจทย์

เพื่อนๆได้ในทุกสถานการณ์ รับรองว่าได้ราคาพิเศษแน่นอนครับ แอดมาเลย Line@ : @tiresbid จอร์จและทีมงานพร้อมให้คำแนะนำ และ คัดเลือกเหมาะสมที่สุดครับ หากต้องการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ ฟรี ! (โปรโมชัน : เมื่อเปลี่ยนยางครบ 4 เส้น) สนใจนัดหมายได้เลยครับ โทรมาเลย : 080-589-4711 (คุณคิม) คุยง่าย แนะนำดี ไม่ผิดหวัง หากต้องการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ ฟรี ! (โปรโมชัน : เมื่อเปลี่ยนยางครบ 4 เส้น) สนใจแจ้งเข้ามาได้เลยครับ ขอบคุณครับ

แก้ไขล่าสุดโดย tiresbid เมื่อ 18 เมษายน 2561 - 13:11


918kiss

member
เขียนกระทู้: 2
ตอบกระทู้: 6
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2563 14:33

ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน