พ.ร.บ. เพิ่มประกันคุ้มครองประกันรถใหม่ เสียชีวิตรับขั้นต่ำ 1 ล้านต่อราย ดีเดย์ 1

ผู้เขียนข้อความ

kitsadagoodcar

member
เขียนกระทู้: 32
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
28 กุมภาพันธ์ 2563 14:11 - อ่าน: 867 - ตอบ: 0

พรบ. เพิ่มความคุ้มครอง   ประกันภัยรถยนต์ปรับเพิ่มความคุ้มครอง พ.ร.บ.กรณีเสียชีวิตบุคคลภายนอกจ่าย 500,000 บาท และภาคสมัครใจ จ่ายขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500,000 บาท รวมจ่ายขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทต่อราย เริ่มดีเดย์ 1 เม.ย.2563 สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมกับ สำนักงาน คปภ. กำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยปรับเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. จากเดิม 300,000 บาท เป็น 500,000 บาท โดยไม่ขึ้นค่าเบี้ยประกันภัย และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ปรับความคุ้มครองขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ผู้ประสบภัยจากรถได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งสองกรมธรรม์รวมกัน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทต่อราย เป็นการยกระดับมาตรฐานการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ร่วมพิจารณาปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทั้งการประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ เพื่อยกระดับมาตรฐานในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วนและเป็นธรรม โดยมีสาระสำคัญ คือ การปรับเพิ่มจำนวนเงินความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. กรณีผู้ประสบภัยจากรถเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือสูญเสียอวัยวะถึงขนาดที่กำหนด จาก 300,000 บาท เป็น 500,000 บาท โดยไม่มีการปรับเพิ่มค่าเบี้ยประกันภัยแต่อย่างใด และปรับความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยกำหนดเกณฑ์ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500,000 บาท หากประชาชนที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุทางรถ จะได้รับความคุ้มครองทั้งจากประกันภัย พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ รวมกันขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาทต่อราย โดยมีผลคุ้มครองเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป สำหรับการปรับเพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับประชาชนที่เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรด้วยความรวดเร็ว และเป็นธรรม สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถลดข้อโต้แย้งระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เสียหายลงได้ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมาในหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า การจ่ายค่าสินไหมทดแทนในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการปรับเพิ่มความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) นี้ ได้เคยมีการปรับเพิ่มมาเป็นลำดับ โดยปรับเพิ่มจาก 200,000 บาท เป็น 300,000 บาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 และครั้งนี้ปรับเพิ่ม จาก 300,000 บาท เป็น 500,000 บาท ซึ่งผลจากการเพิ่มความคุ้มครองโดยไม่เพิ่มค่าเบี้ยประกันภัยนี้ คาดว่าจะทำให้บริษัทประกันภัยต้องแบกรับภาระต้นทุนความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินกว่า 2,700 ล้านบาท แต่การปรับเพิ่มความคุ้มครองในครั้งนี้ สมาคมฯ เชื่อว่าจะสามารถลดข้อโต้แย้งระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เสียหายลงได้ ที่สำคัญประชาชนได้รับประโยชน์และเกิดความเชื่อมั่นในการได้รับความคุ้มครองและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรมมากขึ้น

นายอานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวแล้ว สมาคมฯ จะได้เร่งดำเนินการจัดประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายแนวทางในการปฏิบัติตามกรมธรรม์ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยน และระดมความคิดเห็นระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงาน คปภ. บริษัทประกันภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดจัดการประชุมชี้แจงขึ้นทั้งหมดรวม 5 ครั้ง ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม 2563 รวม 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา ชลบุรี และขอนแก่น ตามลำดับ ซึ่งการจัดครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา ได้รับเกียรติจาก ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ สมาคมฯ จะได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารความรู้ ความเข้าใจไปยังประชาชนทุกภาคส่วนให้ได้รับทราบถึงสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวอีกด้วย นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การประชุมชี้แจงการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจครั้งนี้จัดเป็นครั้งแรก และเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีความสำคัญต่อประชาชน จากอุบัติเหตุของไทยติดอันดับโลก โดยประกันภัยในประเทศไทยมีพอร์ตประกันรถค่อนข้างเป็นพอร์ตใหญ่ เบี้ยประกันรถยนต์ทั้งระบบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายมีแต่จะเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่พี่น้องประชาชนอยากได้รับก็คือการเยียวยาเรื่องประกันภัย ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจไทย ทำให้เกิดการแข่งขันด้านประกันรถยนต์รุนแรง มีการแข่งขั้นด้านตลาดในการบริการด้านสินไหมทดแทน แต่รู้สึกดีใจที่มีนวัตกรรมเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องทำคือ หนุนให้ประชาชนทำประกันภัยมากขึ้น ซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการประกันภัย แม้ปัจจุบันยังเป็นสัดส่วนที่น้อย อย่างกรณีภาคบังคับควรจะต้องเป็น 100% หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 90% “เราผนึกกำลังกับภาคอุตสากรรมประกันภัย ด้านกำกับและส่งเสริมเป็นพันธมิตรในหลายๆเรื่องโดยไม่กระทบกับความเป็นกลาง โดยมีความจำเป็นปรับปรุงประกันภัยรถยนต์ และคู่มือตีความเพื่อสะท้อนปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลง และลดการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ ที่ทำให้ตัวกรมธรรม์ต้องมีความชัดเจนสะท้อนภาวะปัจจุบัน จึงได้ปรับปรุงพิกัดอัตราเบี้ยใหม่ จากการประชุมหารืออย่างเข้มข้นอาจจะมีความไม่เข้าใจกันบ้าง แต่สุดท้ายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียก็จบลงได้อย่างลงตัว ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบแล้วจากทุกฝ่าย” นายสุทธิพลกล่าว เบื้องต้นได้ลงนามไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 21 ก.พ.63 โดยให้เวลาบริษัทประกันปรับปรุง และเป็นของขวัญประชาชน โดยคำสั่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.63 แต่ถ้าหากท่านใดมีแพลนจะออกรถแล้วต้องการประหยัดงบ ด้วยการซื้อรถมือสอง แล้วละก็แต่ยังไม่มีรถที่ถูกใจ เราขอแนะนำ Apple luxury car (โชว์รูมรถหรูมือสอง) ที่รวม “รถหรูมือสอง” ไว้มากที่สุด คุณภาพดี ราคามิตรภาพ พร้อมโปรโมชั่น และบริการหลังการขายอีกต่างๆมากมาย หรือว่าจะเป็น “รถบ้านมือสอง” ทั่วไปเราก็มีรับรอง รถยนต์มือสอง คุ้มค่ากว่าที่คิดอย่างแน่นอน

> คลิกอ่านเพิ่มเติม ป้ายทะเบียนสีซีดจาง เสียงถูกปรับ เปลี่ยนได้ แค่หลักร้อยบาท > คลิกอ่านเพิ่มเติม รู้ก่อนซื้อรถครอบครัว เอสยูวี(SUV) ที่เป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก prachachat.net

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน