วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ ช่วยคุณวางแผนค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้า

ผู้เขียนข้อความ

smanpruksa

member
เขียนกระทู้: 82
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
11 พฤษภาคม 2563 14:21 - อ่าน: 836 - ตอบ: 0

ในการเป็นเจ้าของรถยนต์หนึ่งคัน นอกจากจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันและการดูแลบำรุงรักษารถยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอแล้ว ยังจำเป็นจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี รวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อ พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ซึ่งเป็นการซื้อประกันรถยนต์ภาคบังคับจากกรมขนส่งทางบกอีกด้วย แต่ทราบหรือไม่ว่า ในการต่อภาษีรถยนต์แต่ละปี เราจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไรกันบ้าง เมื่อพอถึงเวลาที่ต้องจ่ายจริง จะช่วยให้สามารถวางแผนและคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น สินมั่นคงประกันภัยมีวิธีคำนวณภาษีรถยนต์มาฝากกันค่ะ

1.     รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (รถปกติทั่วไป) คือ  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ (cc) ซึ่งจะมีระบุไว้ในคู่มือของรถยนต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รถยนต์ที่มีขนาด 1-600 cc เสียภาษีในอัตรา cc ละ 50 สตางค์
  • รถยนต์ที่มีขนาด 601-1800 cc เสียภาษีในอัตรา cc ละ 50 บาท
  • รถยนต์ที่มีขนาด 1801 cc ขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา cc ละ 4 บาท

สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้

  • อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  • อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  • อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  • อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  • อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
  • อายุการใช้งานปีที่ 11 เป็นต้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%

2.     รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท

3.     รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี  1,600 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์

ตัวอย่างที่ 1 รถยนต์ ยี่ห้อ Honda รุ่น Jazz อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 1,500 cc

1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท

2. 601-1500 cc cc ละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท

รวมค่าภาษี 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท

 

ตัวอย่างที่ 2 รถยนต์ ยี่ห้อ Toyota รุ่น Vigo อายุรถ 6 ปี เครื่องยนต์ 3,000 cc

1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600×0.5 = 300 บาท

2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1199 x 1.50 = 1,798.50 บาท

3. เกิน 1801 cc ละ 4 บาท = (3,000 – 1,801)  = 1199 x 4.00 = 4,796 บาท

4. หักส่วนลดภาษีรถอายุเกิน 6 ปี 10%

รวมค่าภาษี  300 + 1,798.50 + 4,796 บาท = 6,894.50 บาท – 689.45 = 6,205.05 บาท

ทั้งนี้ ในการต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนเพราะหากจ่ายช้าจะต้องโดนค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าต่อทะเบียนและหากขาดต่อทะเบียนเกิน 3 ปี รถยนต์คันนั้นจะถูกระงับการใช้งานทันที ต้องไปเสียค่าปรับย้อนหลังและทำเรื่องจดทะเบียนรถใหม่ด้วย

แม้ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ กรมขนส่งทางบกจะปิดให้บริการ ณ ที่ทำการทั่วประเทศ แต่สำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ก็สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์กรมขนส่งทางบกโดยรถยนต์ที่ไม่สามารถดำเนินการทางออนไลน์ได้ ทางกรมขนส่งฯ ก็ได้มีการอนุโลมผ่อนผันให้เป็นกรณีชั่วคราว

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.smk.co.th

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน