ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
siritidaphon
เขียนกระทู้: 1,318
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เป็นเรื่องปกติ ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงและไม่รู้สึกตัว การเกิดแผลกดทับยิ่งพบได้บ่อยมาก สำหรับการเกิดแผลกดทับ คือ การได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออันเกิดจากแรงกดทับที่ผิวหนังเป็นเวลานาน ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว นอนติดเตียงเป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เช่น เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ ผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวหรือการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้ต้องนอนอยู่บนเตียงหรือนั่งรถเข็นตลอดเวลาเสี่ยงเกิดแผลกดทับได้ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายและผิวหนังที่เสื่อมลงตามอายุ แผลกดทับเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วรักษาให้หายได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจรักษาให้หายขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับควรดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถให้กับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงให้ผู้ป่วยนอนนิ่งเป็นเวลานานๆ
ระวัง “แผลกดทับ” ในผู้ป่วยที่ต้องให้ อาหารสายยาง ดูเพิ่มเติมที่นี่ กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||