ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
smanpruksa
เขียนกระทู้: 82
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
ยางเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของรถยนต์ เพราะมีส่วนในขับเคลื่อนของรถ ที่ต้องสัมผัสกับพื้นผิวของถนนตลอดการเดินทาง เราจะมีวิธีดูแลยางรถยนต์ชิ้นส่วนสำคัญนี้อย่างไร ที่จะช่วยให้การเดินทางของเราไปได้ไกล และปลอดภัยตลอดเส้นทาง มีคำแนะนำมาบอกกันดังนี้ 1. ตรวจสอบยางทุกครั้งก่อนออกเดินทาง ปกติอายุการใช้งานของยางเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 กิโลเมตรหรือ 3 ปี เมื่อถึงกำหนดควรเปลี่ยน หรือ หากยางมีลักษณะดังต่อไปนี้ ควรรีบเปลี่ยนทันที - เนื้อยางแข็ง หากยางเริ่มแข็ง มีอาการเริ่มแตกลายงา ยิ่งมั่นใจได้เลยว่า ยางเส้นนั้นไม่ควรใช้งานอีกต่อไป เพราะประสิทธิภาพการเกาะถนนจะลดน้อยลงรีบเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ - ดอกยางเริ่มโล้น ตรวจสอบการสึกของร่องดอกยางว่าถึงระดับที่ควรจะต้องเปลี่ยนยางชุดใหม่หรือยัง ระดับของความลึกในร่องยางไม่ควรน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร หากน้อยกว่านั้น ยางที่ไม่มีดอกหรือยางหัวโล้นจะอันตรายมากเมื่อนำมาใช้งานท่ามกลางฝนตกหนัก ถนนมีผิวที่ลื่นหรือมีน้ำท่วมขังผิวถนน โดยสังเกตจากที่สะพานยางว่าดอกยางจะในระดับใด หากอยู่ระดับเดียวกันกับสะพานยางนั่นเเสดงว่าดอกยางของรถคุณใกล้หมดเเล้ว วิธีเช็คง่ายๆ ปกติความลึกของสะพานยางรถยนต์ใหม่วัดโดยหน่วยมิลลิเมตร จะได้ประมาณ 5-6 มิลลิเมตร หากวัดโดยใช้เหรียญ 1 บาท เหรียญจะจมลงถึงประมาณกลางเจดีย์ หากลดหลั่นลงมากกว่านั่นก็เริ่มสังเกตได้เเล้วว่าดอกยางรถเริ่มโล้น - ยางบวม วิธีนี้สามารถมองได้ดด้วยตาเปล่า บริเวณแก้มยาง หรือหน้ายางจะบวมออกมาเป็นลูกบอล อันเนื่องมาจากยางถูกกระเเทกอย่างรุนแรงขณะขับ เช่น คนขับรถตกหลุม อาการแบบนี้ทำให้โครงสร้างของยางเสีย นอกจากนี้การเติมลมยางมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลให้เกิดการยางบวมได้เช่นเดียวกัน อาการยางบวมคือสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ยางระเบิด หากพบเห็นว่ายางปูดบวมออกมาเคสนี้ต้องรีบเปลี่ยนทันที - มีแผลฉีกขาดที่ยาง ปกติเเล้วหากยางเสียหายจากการโดยตะปูเจาะหรือเหยียบของเเหลมมีคมคุณยังสามารถปะยางเเละใช้งานยางต่อไปได้ แต่เมื่อใดที่ยางมีรอยแผลฉีกขาดไม่ว่าจะเป็นบริเวณหน้ายางหรือแก้มยาง จะขนาดความยาวเท่าใดก็ตามแต่ ไม่วางนำยางปะอย่างเด็ดขาด เพราะแผลฉีกขาดต่างจากแผลโดยเจาะเป็นรู เเผลฉีกขาดลักษณะนี้จะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายไปเเล้ว หากยังปะเเละใช้งานต่อ โอกาสที่ยางจะระเบิดขณะขับขี่มีสูงมาก 2. ตรวจสอบลมยาง หากต้องเดินทางไกลควรเพิ่มลมยางเข้าไปอีกประมาณ 3-5 ปอนด์ต่อตารางนิ้วในล้อ เพื่อให้การบิดตัวของยางรถยนต์ลดลง ซึ่งมีผลที่ทำให้ความร้อนในยางรถยนต์ลดลง 3. หลีกเลี่ยงการจอดรถบนน้ำมัน น้ำมันทุกชนิดมีผลที่จะทำให้ยางเกิดอาการบวมพอง หากมีน้ำกรดรดโดนยาง ล้างออกด้วยน้ำสบู่ 4. ตรวจสอบสภาพจุ๊บเติมลมยาง และควรมีฝาปิดจุ๊บเติมลม 5. เมื่อรถเสียและต้องถูกลากจูงเป็นระยะทางไกลๆ ควรเติมลมยางเผื่อไว้อีก 3-4 ปอนด์จากค่ามาตรฐานที่กำหนดมาจากโรงงาน
6. หลีกเลี่ยงเข้าโค้งอย่างรุนแรงและการขับรถแบบกระชาก เพราะเป็นตัวการทำให้ยางสึกหรอเร็วกว่าการขับใช้งานแบบปกติ
7. หากพบเศษกรวดอยู่ร่องดอกยาง ควรหาเหล็กเส้นเล็กๆไว้คอยเขี่ยแงะเอาหินหรือเศษกรวดออกจากร่องดอกยาง เศษหินเศษกรวดเหล่านี้เป็นตัวการที่จะคอยทิ่มแทงเนื้อยางทำให้เกิดความเสียหายได้ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ทิ่มไปในเนื้อยาง
8. หลีกเลี่ยงการเลือกใช้ยางที่ผิดวิธี ทำให้อายุของยางหดสั้นลง การโหลดที่ขาดการปรับแต่งช่วงล่างอย่างถูกต้องทำให้ยางสึกเฉพาะด้านหน้าของหน้ายาง ซึ่งเมื่อเกิดการสึกของหน้ายางแบบผิดปกติจะส่งผลไปถึงการสึกหรอของดอกยางอย่างรวดเร็วที่ส่งผลลัพธ์โดยตรงไปที่การบังคับควบคุมหรือแม้แต่การเบรก
ขอบคุณข้อมูลจากสินมั่นคงประกันภัย (https://www.smk.co.th/premotor.aspx) กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||