แค่ดูแลรถก็ช่วยลดปัญหามลพิษ ฝุ่น PM2.5 ได้

ผู้เขียนข้อความ

smanpruksa

member
เขียนกระทู้: 82
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
23 ธันวาคม 2563 15:11 - อ่าน: 5,008 - ตอบ: 0

จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศเขตกรุงเทพฯ ที่สูงเกินค่ามาตราฐาน กลายเป็นปัญหาใหญ่ของคนอาศัยอยู่ในเมือง เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีขนาดเล็กมากสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็ง สาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหามาควันจากท่อไอเสียรถยนต์ในเมืองที่การจราจรหนาแน่น ซึ่งเราเองก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างมลพิษในอากาศได้ จะมีส่วนช่วยลดปัญหานี้อย่างไร มีคำแนะนำมาบอกกันดังนี้

ควันรถยนต์

ประกอบด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก และสารพิษอีกหลายชนิดโดยกว่า 40 ชนิด สามารถแทรกซึมเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ได้ง่าย และนำพาสารพิษหลายชนิดเข้าสู่กระแสเลือด อาจเป็นสารพิษที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพได้ ควันรถยนต์ จะมีลักษณะของสีที่สังเกตได้ 2 แบบคือ ควันขาว ควันดำ ซึ่งแตกต่างกัน ดังนี้

 

1. รถควันขาว

เกิดกับเครื่องยนต์เบนซิน ปกติแล้วน้ำมันเครื่องจะทำหน้าที่ลดการหล่อลื่น ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์และหล่อเย็น เมื่อเกิดการเล็ดลอดเข้ากระบอกสูบผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้เผาไหม้ไม่หมดทำให้เกิดควัน

 

สาเหตุอาจเกิดจาก

1. เกิดจากแหวนลูกสูบที่ชำรุดเสียหาย โดยการที่มีควันขาวออกมาจากเครื่องยนต์นั้นอาจเกิดจากการที่น้ำมันเครื่องยนต์เข้าไปในห้องเผาไหม้มากเกินไป จากการชำรุดเสียหายของแหวนลูกสูบ และการใช้งานที่ยาวนานแต่ขาดการดูแลของแหวนลูกสูบ ซึ่งโดยปกตินั้นจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 100,000 ถึง 300,000 กิโลเมตร

2. เกิดจากการที่ผู้ใช้รถยนต์ไม่ได้ถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการที่ไม่ได้ถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนดจะส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักมากขึ้นเพราะน้ำมันเครื่องมีความหนืดและเข้มข้นสูง เครื่องยนต์จึงไม่สามารถที่จะเร่งได้เต็มประสิทธิภาพเพราะมีกำลังต่ำลง และยังส่งผลให้เกิดการเสียดสีมากขึ้นภายในกระบอกสูบอีกด้วย

3. การรั่วซึมของซีลฝาสูบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดควันขาวได้เพราะการรั่วซึมของซีลฝาสูบนั้น จะทำให้น้ำมันเครื่องยนต์ที่ไปหล่อลื่นฝาสูบเกิดการรั่วไปสู่วาล์วและห้องเผาไหม้ตามลำดับ ซีลฝาสูบนั้น จะถูกติดตั้งระหว่างเสื้อสูบกับฝาสูบ ซีลฝาสูบนั้นสามารถที่จะชำรุดเสียหายได้จากหลาย เช่น การที่ฝาสูบโก่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการที่เครื่องยนต์มีความร้อนสูงเกิดลิมิต และ ระบบระบายความร้อนไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ และเมื่อเครื่องยนต์กำลังทำงาน และส่งแรงดันจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ก็อาจจะทำให้ฝาสูบโก่งได้เช่นกัน และท้ายที่สุดก็ทำให้ซีลฝาสูบเสียหาย และในบางกรณีนั้นฝาสูบอาจถึงขั้นแตกได้เมื่อฝาสูบโก่งขึ้นและหน้าสัมผัสของฝาสูบและเสื้อสูบนั้นไม่ได้ประกบกันสนิท

4. การที่น้ำมันเครื่องรั่วจากด้านบน เข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ สาเหตุนี้เกิดจากการที่น้ำมันเครื่องที่อยู่ภายในฝาครอบวาล์วนั้นรั่วผ่านก้านวาล์ว และซีลก้านวาล์วสึกหรอหรือชำรุด จึงทำให้รั่วผ่านวาล์วไปได้ หรืออาจจะเกิดจากบ่าวาล์วที่ปิดไม่สนิท การตั้งระบบเปิดปิด วาล์ว ไอดีและไอเสียที่ผิดพลาด ทำให้จังหวะในการจุดระเบิดเชื้อเพลิงผิดจังหวะไปได้

5. ตัวแหวนลูกสูบที่ชำรุดเสียหาย โดยตัวแหวนนั้นอาจแตกหักหรือชำรุด ทำให้ขาดความยืดหยุ่นจากความร้อน หรือการขาดการดูแลรักษา

 

วิธีแก้ไข

1. การซ่อมแซมดูแลส่วนที่สึกหรอ เช่น การเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือตัวลูกสูบ

2. เช็กปั๊มของเครื่องยนต์โดยการนำรถไปเข้าศูนย์บริการ และปรับแต่งระบบจ่ายน้ำมัน

3. การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ตรงเวลา รวมถึงการเปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่ และการล้างท่อไอเสียโดยใช้น้ำล้าง หรือใช้ลมฉีดล้างเขม่าควันและฝุ่นละออง ภายในท่อไอเสีย

 

รถควันดำ

เป็นปัญหากับเครื่องยนต์ดีเซล เพราะเป็นการจุดระเบิดที่อาศัยการอัดอากาศและเชื้อเพลิงให้มีความดันสูงจนเชื้อเพลิงสามารถติดไฟ ด้วยประเภทของน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟยาก ใช้เวลาในการเผาไหม้นานทำให้เกิดเขม่าสูง จึงมีการติดตั้ง EGR หรือ Exhaust Gas Recirculation หมุนวนไอเสียกลับมาใช้ ใหม่เพื่อให้มลพิษที่ปล่อยน้อยลง ซึ่งการเกิดควันดำในเครื่องดีเซลมีทั้งที่แบบเป็นปรกติ และมีปัญหา ดังนี้

 

สาเหตุอาจเกิดจาก

- กดคันเร่งหนักเกินไป มีการเผาไหม้เยอะ ทำให้ระบบ EGR ดูดไอเสียวนกลับมาใช้ได้ไม่หมด จนมีเขม่าควันดำเล็ดลอดมาให้เห็น เป็นอาการที่พบได้ปรกติ และรถที่ไปอุดEGR ทำให้มีควันดำได้

- เครื่องยนต์เก่า เครื่องหลวม ทำให้การอัดจุดระเบิดไม่ดีพอ เขม่ามีมากเกินที่ผ่านระบบ EGR และ ท่อแคทตาไลติก (Catalytic) ตัวกรองไอเสีย

- ไส้กรองอากาศสกปรกเกิดการอุดตัน อากาศผ่านไอดีที่เข้าไปผสมไม่สมดุล

- ระบบจ่ายน้ำมันปีปัญหา หัวฉีด ปั๊มติ๊ก ทำให้จ่ายน้ำมันมากเกินไป หรือองศาการฉีดน้ำมัน ส่งผลให้เกิดควันดำได้ทั้งหมด

- หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงสกปรก ชำรุด ความดันหัวฉีดต่ำ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ได้มาตรฐาน

- น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ ขาดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

- การปรับแต่ระบบปั๊มจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม และตั้งจังหวะการฉีดน้ำมันไม่ถูกต้อง องศาการฉีดไม่เหมาะสม ฉีดน้ำมันมากเกินไป

- บรรทุกเกินอัตราที่กำหนด

- อุณหภูมิไม่ถึงอุณหภูมิทำงาน

- กำลังอัดต่ำ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

- ประเก็นฝาสูบรั่ว

- ขาดการดูและและบำรุงรักษาเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ

 

การดูแลรักษาเครื่องยนต์เพื่อป้องกันควันดำ

- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา

- หมั่นทำความสะอาดและเปลี่ยนใหม่ไส้กรองอากาศใหม่เมื่ออุดตัน

- ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่

- หลีกเลี่ยงการตั้งองศาจุดระเบิดให้ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของบริษัทผู้ผลิต

- ตรวจสอบอุปกรณ์การฉีดน้ำมันตามกำหนดเวลา หรือเมื่อเครื่องยนต์มีอาการผิดปกติ เช่น เร่งเครื่องไม่ตอบสนอง หรือตอบสนองช้า เพื่อปรับแต่งหัวฉีดเพื่อให้ฉีดน้ำมันได้เป็นฝอยละอองละเอียด ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้สมบูรณ์ไม่เกิดควันดำ

- ตรวจสอบ-เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอายุอย่างเคร่งครัด

-นำรถเข้ารับการตรวจสอบกำลังอัดในกระบอกสูบ เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องยนต์สึกหรอมากแล้วหรือไม่ เพราะเครื่องยนต์ที่สึกหรอมากจะมีกำลังอัดต่ำและการเผาไหม้จะไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดมีควันดำ

- หลีกเลี่ยงการบรรทุกน้ำหนักเกิดพิกัด

- เปลี่ยนเกียร์ตามความเร็วของรอบเครื่องยนต์

 

เพียงแค่เราหมั่นดูแลรักษารถของเราให้ดีอยู่เสมอ ก็มีส่วนช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศได้ หากรถของเรามีอายุการใช้งานมากก็ต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษ ควบคู่ไปกับการเลือกใช้ประกันรถยนต์ที่ไว้ใจได้ www.smk.co.th/premotor.aspx

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน