ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
smanpruksa
เขียนกระทู้: 82
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
นับเป็นกระแสที่สำคัญของโลก เมื่อการประชุมวาระโลก COP27 และ APEC2022 ที่ผ่านมาได้มีการเน้นย้ำเรื่อง Net Zero เพื่อให้ทุกภาคส่วนของโลกช่วยกันเร่งแก้ไขปัญหามลพิษโลกให้ได้ตามเป้าที่วางไว้ ด้วยการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน ตลอดจนการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้สอยภายในบ้านจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนกำลังมองหา การติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะช่วยลดค่าไฟได้เท่าไร? ขนาดไหนบ้างที่เหมาะกับบ้านเรา?
โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งโซลาเซลล์ในครัวเรือนจะติดตั้งตามขนาดของการใช้งานภายในบ้าน โดยวิศวกรจะเป็นผู้คำนวนขนาดการติดตั้งให้เหมาะสมกับขนาดการใช้ไฟของแต่ละบ้านและลักษณะการใช้งานไฟฟ้าว่าเป็นที่พักอาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรม แต่แผงโซลาเซลล์จะมีประสิทธิภาพได้สูงสุดกี่วัตต์นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ประเภท ขนาด และจำนวนแผงเซลล์ ติดโซลาเซลล์ ช่วยลดค่าไฟได้เท่าไร? สำหรับการติดตั้งระบบโซลาเซลล์ จะช่วยลดค่าไฟได้เท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของการผลิตไฟฟ้าที่ได้ โดยโซลาเซลล์ที่ติดตั้งกันทั่วไป จะมีด้วยกัน 3 ขนาดหลักๆ คือ
1. โซล่าเซลล์ขนาด 3kw มีกำลังการผลิต 3,000 w สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกประเภท ด้วยระบบการติดตั้งแบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า • ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง 12 ตรางเมตร • ใช้แผงโซล่า ขนาด 450W จำนวน 6 แผง • ช่วยลดค่าไฟได้มากถึง 1,500-2,000 บาท/เดือน
2. โซล่าเซลล์ขนาด 5kw มีกำลังการผลิต = 5,000 w สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกประเภท ด้วยระบบการติดตั้งแบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า • ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง 22 ตรางเมตร • ใช้แผงโซล่า ขนาด 450W จำนวน 11 แผง • ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 2,500-4,000 บาท/เดือน
3. โซล่าเซลล์ขนาด 10kw มีกำลังการผลิต = 10,000 w สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกประเภท ด้วยระบบการติดตั้งแบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า • ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง 22 ตรางเมตร • ใช้แผงโซล่า ขนาด 450W จำนวน 11 แผง • ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 5,000-7,000 บาท/เดือน
โซลาเซลล์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง? ระบบโซลาเซลล์ มีส่วนประกอบสำคัญ หลักๆ คือ ตัวแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสร้างไฟฟ้ากระแสตรง และอินเวอร์เตอร์มีหน้าที่เปลี่ยนแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. แผงโซลาเซลล์ (Solar Panel) แผงโซลาเซลล์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้ มีหลายประเภท ซึ่งประเภทที่นิยมกัน คือ แบบใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอน (Silicon Semiconductor) มีหน้าที่เป็นตัวดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนพลังงานเป็นกระแสไฟฟ้าแบบ DC แบ่งออกเป็นอีก 3 ชนิดคือ • โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) • โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) • แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) แผงโซลาเซลล์สามารถใช้งานได้เหมือนกันแต่มีความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ต่างกันซึ่งในประเทศไทยจะนิยมใช้แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ เพราะเป็นชนิดที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด และ มีอายุการใช้งานนานที่สุด ถึง 25 ปี
2. เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter) เครื่องแปลงไฟฟ้า หรือ Inverter เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง และจะส่งผ่านไปยัง Inverter มีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
3. เครื่องควบคุมการชาร์จไฟฟ้า (Solar Charge Controller) เป็นเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ของโซลาเซลล์ โดยการชาร์จเข้าแบตเตอรี่ต้องอาศัยเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ เนื่องจากหากต่อระบบโซลาเซลล์เข้ากับแบตเตอรี่โดยตรง จะมีแรงดันไฟฟ้าที่ดันกันระหว่างแรงดันไฟฟ้าของโซลาเซลล์กับแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ จึงต้องควบคุมประจุแบตเตอรี่ให้รองรับกับแรงดันระบบที่เลือกใช้
4. แบตเตอร์รี่ (Battery) เป็นตัวที่จะช่วยเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแบตเตอร์รี่ในปัจจุบันจะมีหลายแบบหลายประเภท จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของการใช้งาน สำหรับแบตเตอร์รี่ที่ใช้ แนะนำเป็นแบตเตอรี่ที่มีไว้สำหรับสำรองไฟฟ้า (Stationary/Standby Battery) โดยแบตเตอรี่ประเภทนี้มีหน้าที่เก็บพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน กรณีไฟตก ไฟดับ และไฟกระชาก เป็นต้น
5. อุปกรณ์ไฟฟ้า Dc/Ac เป็นอุปกรณ์ไฟ้ฟ้าที่มีไว้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างไฟฟ้าแบบ DC กระแสไฟฟ้าตรง และ AC กระแสไฟฟ้าสลับ ในระบบการติดตั้งโซลลาเซลล์ เพื่อให้ระบบนั้นมีความสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้อาจจะรู้สึกว่าการติดตั้งโซลาเซลล์จะมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งครั้งแรก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนลดค่าไฟที่ได้รับก็นับว่าเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการช่วยแก้ไขปัญหามลพิษและลดค่าใช้จ่ายรายเดือนได้มากขึ้น ให้ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ช่วยความคุ้มครองที่อยู่อาศัยคุณ ทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านจัดสรร ที่อาจได้รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายในจากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/others/ประกันรักษ์บ้าน หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามอ่านข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||