ข้อมูลสุขภาพ: สมองพิการ (Cerebral Palsy)

ผู้เขียนข้อความ

siritidaphon

member
เขียนกระทู้: 1,318
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
11 ธันวาคม 2566 12:03 - อ่าน: 404 - ตอบ: 0

Cerebral Palsy หรือสมองพิการ เป็นโรคความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นกับทารกหรือเด็กเล็ก โดยเกิดขึ้นเมื่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเกิดความผิดปกติ ได้รับความเสียหาย หรือมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัว และการเคลื่อนไหวร่างกายไปตลอดชีวิต

 

อาการของ Cerebral Palsy

อาการของผู้ป่วย Cerebral Palsy อาจมีความรุนแรงมากหรือน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งมีอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป เช่น

พัฒนาการล่าช้า เช่น อายุ 8 เดือนแต่ยังนั่งไม่ได้ อายุ 18 เดือนแต่ยังเดินไม่ได้ รวมถึงพัฒนาการทางการพูดช้ากว่าปกติ เป็นต้น

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น ความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้จนทำให้เสียการทรงตัว เคลื่อนไหวน้อย น้ำลายไหลมาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้แม้ถึงวัยที่ควรทำได้ เป็นต้น

อาจมีความบกพร่องทางสติปัญญาและการเรียนรู้

ปัญหาทางการมองเห็นและการได้ยิน หรืออาจมีอาการตาเหล่ร่วมด้วย

ปัญหาทางการสื่อสาร การพูดและการใช้ภาษา

การรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ อย่างความรู้สึกเจ็บ

ทั้งนี้ ตำแหน่งของสมองที่ได้รับความเสียหายจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันออกไป และสมองพิการอาจแบ่งเป็นหลายชนิด ดังนี้

Cerebral Palsy ชนิดหดเกร็ง เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด หรือประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย Cerebral Palsy ทั้งหมด โดยกล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งและมีปัญหาในการเดิน เช่น เดินแล้วขาหรือหัวเข่าไขว้กัน เป็นต้น และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตได้ ซึ่งอาจส่งผลเพียงครึ่งซีกด้านซ้ายหรือขวา หรือมักส่งผลที่ขา 2 ข้างมากกว่าแขนทั้ง 2 ข้าง ใบหน้า หรือทั้งร่างกาย

Cerebral Palsy ชนิดกระตุก ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อแข็งตึงหรืออ่อนแรงสลับกันไปมา ซึ่งอาจทำให้มีอาการชักหรือไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้

Cerebral Palsy ชนิดเดินเซ เป็นชนิดที่พบได้น้อย โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาในการทรงตัว สมดุลร่างกาย และการประสานงานของระบบต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีอาการสั่นร่วมด้วย

Cerebral Palsy ชนิดผสม ผู้ป่วยบางรายอาจมีสมองพิการมากกว่า 1 ชนิดเกิดขึ้นร่วมกัน

ส่วนผู้ป่วยเด็กที่เป็น Cerebral Palsy เมื่อเด็กโตขึ้นอาการต่าง ๆ มักจะไม่แย่ลงตามกาลเวลา แต่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมและไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ก็อาจทำให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้น หากสงสัยหรือพบว่าลูกน้อยมีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว การรับรู้ การทำงานของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การกลืน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

สาเหตุของ Cerebral Palsy

โรค Cerebral Palsy เกิดขึ้นเมื่อเซเรบรัลคอร์เทกซ์ (Cerebral Cortex) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวได้รับความเสียหายหรือมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ มักเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แต่ก็อาจเกิดขึ้นในระหว่างคลอดหรือหลังคลอดได้เช่นกัน แม้ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนแต่ก็มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกได้ เช่น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมองของทารกก่อนคลอด ได้แก่

ปัญหาสุขภาพและการติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส โรคเริม โรคซิฟิลิส การติดเชื้อไวรัสซิกา การติดเชื้อไวรัสไซโตเมกะโลโวรัส โรคท็อกโซพลาสโมซิส เป็นต้น

ภาวะสมองผิดปกติในส่วนเนื้อเยื่อสมองสีขาวที่อาจเกิดจากทารกได้รับเลือดและออกซิเจนน้อยลง

โรคหลอดเลือดสมองในทารก ซึ่งทำให้มีเลือดออกภายในสมองของทารก หรือทำให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

อุบัติเหตุที่ทำให้สมองของทารกได้รับการกระทบกระเทือนตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การกลายพันธุ์หรือความผิดปกติของพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมองของทารกระหว่างคลอดหรือหลังคลอด ได้แก่

สมองขาดออกซิเจนชั่วคราว ซึ่งอาจเกิดจากการคลอดหรือการสำลักน้ำคร่ำ จนทำให้สมองของเด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

ปัญหาสุขภาพและการติดเชื้อของทารก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไข้สมองอักเสบ ภาวะดีซ่านอย่างรุนแรงหรือไม่ได้รับการรักษา เป็นต้น

สมองของทารกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง

 

ข้อมูลสุขภาพ: สมองพิการ (Cerebral Palsy) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน