รู้หรือเปล่า ประกันรถยนต์ ใช้ลดหย่อนภาษีได้?

ผู้เขียนข้อความ

insurtech

member
เขียนกระทู้: 2
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
13 มิถุนายน 2561 17:30 - อ่าน: 19,468 - ตอบ: 0

ลดหย่อนภาษีมีหลายทาง แค่ศึกษาไว้

 

ภาษีส่วนบุคคล และภาษีเกี่ยวกับธุรกิจ เป็นหน้าที่ที่คนไทย และบริษัทต่างๆที่อยู่ในประเทศไทย ที่ต้องชำระทุกๆปี ซึ่งก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลไทยได้มีการช่วยประชาชนในการลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น แคมเปญ ช้อปช่วยชาติ หรือ การลดหย่อนภาษีจากการใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ในปีที่ผ่านๆมา หลายคนก็มุ่งเน้นไปที่การซื้อของจับจ่ายกัน เพื่อนำใบเสร็จที่ได้จากร้านค้ามาลดหย่อนภาษี ซึ่งมี กลุ่มการใช้จ่ายอีกกลุ่มหนึ่งที่หลายคนไม่รู้มาก่อนว่าสามารถนำไปตีเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ นั่นก็คือ เบี้ยประกันรถยนต์  !!

ไม่ใช่ประกันสุขภาพอย่างเดียวที่ลดหย่อนภาษีได้

การแนะนำในบทความนี้ จุดประสงค์คือ การบอกกล่าวในสิ่งที่หลายคนไม่รู้ ให้รู้ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อการยื่นภาษีครั้งถัดไป – ที่ผ่านมา เราจะเข้าใจกันดี ว่าการลดหย่อนภาษี เกิดขึ้นได้หลายๆทางเช่น การเลี้ยงดูบุตร การเลี้ยงดูพ่อแม่ การลงทุนในกองทุน LTF RMF ต่างๆ และที่ ฮิตๆ กันมากเลยก็คือ การซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี แต่จริงๆแล้ว การลดหย่อนภาษี นั้นมีได้หลายทาง ซึ่งอีกทางหนึ่งก็คือการซื้อประกันรถยนต์ สำหรับหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดจำนวนเงินในการจ่ายภาษีนั่นเอง เรามาดูกันว่า ประกันรถยนต์นั้น จะลดหย่อนภาษีได้ยังไง?

ประกันรถยนต์สำหรับ บริษัท เพื่อลดหย่อนภาษี

แน่นอนอยู่แล้วว่า หากรถยนต์เป็นชื่อของบริษัท บริษัทเป็นเจ้าของ ไม่ว่าบริษัทจะทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือแผนใดก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น กับรถยนต์ของบริษัททั้งหมดนั้น สามารถนำไปค่าใช้จ่ายบริษัทเพืื่อหักภาษีได้ โดยถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ดังนั้น อันนี้เป็นหน้าที่ของบริษัททั่วๆไป ที่จะต้องมีใบเสร็จ จากบริษัทประกัน หรือ Broker เพื่อนำไปยื่นเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทนั่นเอง

แล้วรถยนต์ส่วนบุคคลหล่ะ? ถ้าทำประกัน ตีเป็นค่าใช้จ่ายได้มั้ย?

อ้างอิง มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี

มาตรา 65 ตรี ข้อ (3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศลเว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นไป )

(5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม

ข้อมูลจาก rd.co.th

เคสแรก : รับจ้างทั่วไป ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท

หากเจ้าของรถยนต์ ประกอบกิจการส่วนตัว (ที่ไม่ได้เป็นลักษณะนิติบุคคล) เป็นการรับจ้าง และได้ซื้อประกันรถยนต์ เอาไว้ สามารถนำเอาค่าใช้จ่าย ที่เป็นเบี้ยประกันรถยนต์ มาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาษีได้ แต่เจ้าของรถยนต์ ต้องพิสูจน์ได้ว่า รถยนต์ค้นนั้น เป็นรถยนต์ที่ใช้ในการประกอบการงาน กิจการ จริงๆ ยกตัวอย่างเช่น

นาย A รับจ้าง ซ่อมเฟอร์นิเจอร์ และใช้รถยนต์คันนั้นๆ เพื่อรับส่งเฟอร์นิเจอร์ และเมื่อนาย A ยื่นภาษี หากนาย A มีประกันรถยนต์ที่ซื้อไว้ในปีภาษีนั้นๆ นาย A ต้องพิสูจน์กับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ว่า รถยนต์คันนั้นได้ถูกใช้ในการประกอบกิจการจริงๆ และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาย A ต้องยื่นภาษีให้ถูกต้องด้วย

หากนาย A ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ราคาสมมติที่ 30,000 บาท สามารถ นำเอา รายจ่าย โดยต้องมีใบเสร็จจากบริษัทประกันภัย หรือ โบรคเกอร์ประกันภัย แนบ เพื่อยืนยันต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

เคสสอง : เป็นพนักงานบริษัท และ หายรายได้พิเศษในวันหยุด โดยใช้รถยนต์

เคสนี้ นาย B เป็นคนขยัน โดยวันธรรมดา ทำงานบริษัท แต่วันหยุด ก็ไปรับจ้างบริการโดยใช้รถยนต์เช่นเดียวกัน ในกรณีนี้ นาย B ต้องยื่น ภาษีรายได้ทั้งสองทางคือ รายได้ที่ได้จากบริษัทที่ทำอยู่ และ รายได้ที่มาจากการหารายได้พิเศษ และต้องพิสูจน์ให้กรมสรรพากร พร้อมใบเสร็จ ที่แจ้งว่า ได้ซื้อประกันรถยนต์สำหรับคันนั้นๆ เพื่อประกอบกิจการหารายได้พิเศษ

 

การซื้อประกันรถยนต์ โดยสรุปแล้วสามารถนำมาตีเป็นค่าใช้จ่าย ลดหย่อนภาษี ได้ โดยที่ไม่ได้ถูกกำหนดว่า จะต้องเป็นประกันชั้นไหน  จึงจะนำมาลดหย่อนภาษีได้ อย่างไรก็ดี การแจ้งต่อกรมสรรพากร เกี่ยวกับการนำค่าเบี้ยประกันรถยนต์มาหักเป็นค่าใช้จ่ายนั้น อาจมีขั้นตอนอื่นๆ เพื่อให้ถูกระเบียบตามกรมสรรพากร ผู้เสียภาษีทุกคนควรสอบถามก่อนที่เบอร์ 1161 สรรพากร คอลเซ็นเตอร์

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน