เรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้ใช้รถกระบะ

ผู้เขียนข้อความ

KCAR

member
เขียนกระทู้: 40
ตอบกระทู้: 23
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
6 กรกฏาคม 2561 14:32 - อ่าน: 18,229 - ตอบ: 0

     ต้องยอมรับว่ารถกระบะเป็นประเภทรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทยของเรานะครับ ไม่เพียงเพื่อใช้งานทางด้านพาณิชย์ หรือบรรทุกสิ่งของเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทุกวันนี้รถกระบะยังเป็นรถยนต์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายกิจกรรม เนื่องด้วยรูปลักษณ์การออกแบบทั้งภายใน-ภายนอก และห้องโดยสารที่มีความสะดวกสะบายต่อผู้ใช้งาน พร้อมด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่ตอบสนองกับความต้องการได้หลากหลายรูปแบบการใช้งาน ซึ่งการใช้งานของรถกระบะนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของแต่ละคน

ดังนั้นแล้วเพื่อยืดอายุการใช้งานของรถกระบะนั้น วิธีการบำรุงรักษาหรือตรวจเช็คสภาพของรถกระบะอย่างสม่ำเสมอนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้รถของท่านมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และวันนี้เราโตโยต้า กรุงไทย ก็มีวิธีง่ายๆที่จะมาแนะนำ เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น ส่วนจะมีอะไรกันบ้างนั้นเราไปดูกันเลยครับ

1.  หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง

       การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ถือว่าเป็นสิ่งแรกที่ทุกท่านผู้ใช้รถกระบะจำเป็นต้องตรวจก่อนเลยหลังจากการใช้งาน เพราะระดับน้ำมันเครื่องสามารถบ่งบอกได้ว่ารถของท่านควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องในรถกระบะของท่านนั้นก็เป็นเรื่องง่ายๆ เลยก็คือ ท่านต้องเตรียมทิชชู่เพื่อเอาไว้เช็ดคราบน้ำมันจากก้านวัดก่อน วิธีปฏิบัติคือ ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องซึ่งจะอยู่บริเวณใกล้กับฝาที่ใส่น้ำมันเครื่อง ให้ท่านทำการเช็ดคราบน้ำมันจากก้านก่อนรอบแรก แล้วเสียบกลับที่เดดิมอีกครั้ง แล้วดึงก้านออกมาดู แล้วให้สังเกตุว่าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระดับไหน ซึ่งก้านวัดจะมีระดับขีดบอกอยู่ คือ max-min หรือขีดล่าง L (Min) ขีดบน F (Max) ถ้าหากระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างทั้งสองขีดนี้แสดงว่าปกติ และหากปริมาณน้ำมันเครื่องสีดำมาก และอยู่ต่ำกว่าขีด L หรือสูงกว่าขีด F มากเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้  และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆระยะ 5,000-10,000 กิโลเมตร หรือตามรถยนต์แต่ละรุ่นที่กำหนดไว้ในคู่มือรถ และขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานด้วย

2.  เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะ

       สำหรับข้อนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ท่านได้ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง (จากข้อ1) ให้พิจารณาว่าสมควรที่จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง โดยให้สังเกตจากสีของน้ำมันเครื่องว่าในขณะนั้นเป็นสีดำมากน้อยแค่ไหน (วิธีเช็คจากข้อ 1) และโดยทั่วไปแล้วระยะของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องใหม่นั้นจะอยู่ที่  5,000-10,000 กิโลเมตร โดยประมาณ ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องของการช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ของท่านได้เป็นอย่างดีเลยครับ

 

3. น้ำยาหล่อเย็น

       น้ำยาหล่อเย็น หรือน้ำยาคูลแลนท์ (Coolant) ที่เหมาะสมต้องออกสีเขียวและปริมาณของน้ำยาต้องอยู่ในระดับกลางๆ ซึ่งต้องไม่อยู่ในระดับต่ำ (Low) ในถังบรรจุน้ำยาหล่อเย็นเกินไป และสีของน้ำยาต้องไม่ออกเป็นสีดำจนเกินไป ซึ่งถ้าตัวน้ำยาหล่อเย็นสีเขียวๆกลายเป็นสีดำเมื่อไหร่ แนะนำให้ท่านนำรถของท่านเข้าที่ศูนย์บริการฯใกล้บ้านท่าน เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คอย่างระเอียด เพราะศูนย์บริการมีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานและทันสมัย เพื่อป้องกันและเป็นการถนอมการใช้งานของระบบความเย็นของเครื่องเย็นให้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานต่อไป

 

4. การสลับยางรถยนต์ตามระยะ

       ทำไมถึงต้องสลับยางรถยนต์ตามระยะ?.. เพราะบางท่านใช้งานรถกระบะก็จะแตกต่างกัน และโดยธรรมชาติแล้ว ยางที่อยู่ล้อหน้านั้นมีโอกาสที่จะสึกหรอก่อนมากกว่ายางหลัง เพราะมาจากการเบรกของรถกระบะส่วนใหญ่ที่มีระบบเบรกอยู่ล้อหน้าเป็นหลักนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการขับขี่ของแต่ล่ะท่านด้วยน่ะครับ ดังนั้นแล้วเพื่อเป็นการถนอมยางให้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เราควรสลับยางรถยนต์ตามระยะการใช้งาน อย่างเช่น รถของท่านเปลี่ยนยางใหม่ ซ่งมีการใช้งานไปประมาณ 10,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 6 เดือน ท่านก็ควรนำรถของท่านเข้ารับการบริการที่ศูนย์บริการหรืออู่บริการ ใกล้บ้าน

 

5. พื้นปูกระบะลายเนอร์

       ปกติแล้วพื้นปูกระบะลายเนอร์ เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป ซึ่งแน่นอนส่วนใหญ่รถกระบะก็จะมีพื้นปูกระบะทุกคันอยู่แล้ว และหลายคนก็มองข้ามในเรื่องการดูแลรักษาไปด้วยเช่นกัน เราควรมีการถอดพื้นปูกระบะลายเนอร์ออกมา เพื่อทำความสะอาดตัวกระบะของเราอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากพื้นปูกระบะลายเนอร์นี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ กระบะเราเกิดสนิมได้ เพราะใต้พื้นกระบะลายเนอร์ ไม่ได้รับแสงแดด และมีสิ่งปฎิกูลต่างๆหมักหมมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความชื้นสะสมอยู่เป็นเวลานาน เป็นสาเหตุของการเกิดสนิมกัดกร่อนตัวกระบะเรา เป็นภัยเงียบที่เราไม่ควรมองข้ามนะครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก : เรื่องควรรู้รถกระบะ


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน