3 ขั้นตอนง่ายๆวิธีตรวจ เช็คสภาพยางรถ

ผู้เขียนข้อความ

nktinfo

member
เขียนกระทู้: 10
ตอบกระทู้: 3
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
4 พฤษภาคม 2562 10:11 - อ่าน: 7,313 - ตอบ: 0

3 ขั้นตอนง่ายๆวิธีตรวจ เช็คสภาพยางรถ

ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญของรถยนต์ของเรา ที่สัมผัสกับพื้นถนน ดังนั้นท่านเจ้าของรถควรมีการดูแลบำรุงรักษายางรถยนต์เราอย่างสม่ำเสมอหรือทุกครั้งที่มีการเดินทางไกล เพื่อให้รถยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการขับขี่ทั้งตัวท่านเองและผู้ร่วมเดินทางควรมีการ ตรวจเช็คสภาพยางรถ อย่างสม่ำเสมอนะครับ

1) เช็คลมยาง

ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวถนนตลอดเวลาที่ใช้งาน ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญมาก เราควรมีการเช็คลมยาง อย่างน้อย 1 เดือน/ครั้ง หรือทุกครั้งก่อนการเดินทาง เพราะระดับผมยางที่น้อยหรือมากจนเกินไป อาจจะเป็นปัจจัยทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพเร็วกว่าที่กำหนด หรืออาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2) เช็คความลึกดอกยาง

ความลึกของยางรถยนต์ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 4 มม. หากน้อยกว่าอาจจะให้การทรงตัวของรถแย่ลง และเสียการควบคุมตัวรถได้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน โดยเฉพาะการลื่นไถลบนถนนเปียกลื่นขณะเร่งแซงหรือในขณะเข้าโค้ง ดังนั้นท่านเจ้าของรถหรือผู้ใช้รถควรตรวจสอบความลึกของดอกยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ

3) เช็ครอยแตก และความเสียหายของยาง

รอยแตกแก้มยางอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเติมลมยางที่ไม่เหมาะสม น้อยหรือมากจนเกินไป การบรรทุกของหนักเกินไป หรือใช้สารเคมีผิดประเภทเช็ดทำความสะอาด ปัจจัยเหล่านี้อาจจะทำให้ยางเกิดการรั่วซึม หรือยางเกิดการระเบิดได้

เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ เราควรตรวจ เช็คสภาพยางรถ อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้งก่อนและหลังการเดินทางไกล ซึ่ง 3 ขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้สามารถทำด้วยตัวเอง หรือนำรถเข้ามาตรวจเช็คที่ศูนย์นิสสัน กรุงไทย ของเราตรวจเช็กสภาพยางให้ได้ ซึ่งจะมีช่างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยบริการตรวจเช็คและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ (สามารถนัดหมายเช็คระยะ หรือตรวจเช็คยางล่วงหน้าง่ายๆได้ที่นี่) หรือสามารถเปลี่ยนยางใหม่ได้ทันทีหากยางนั้นเสื่อมสภาพการใช้งานซึ่งอาจจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่

ต้นฉบับบทความ: http://www.nissankrungthai.com/check-tire-3-process/

บทความอื่นๆ: http://www.nissankrungthai.com/blog/

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน