TIRESBID เกร็ดความรู้ : ระวังเบรกเฟด ขับลงเขาลาดชัน เทคนิคใช้เกียร์ ไม่เน้นเบรก

ผู้เขียนข้อความ

tiresbid

member
เขียนกระทู้: 135
ตอบกระทู้: 1
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
9 กันยายน 2563 11:51 - อ่าน: 9,922 - ตอบ: 0

สวัสดีครับ คุณผู้อ่านและคุณลูกค้าทุกท่าน จอร์จไทร์บิด ผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ ยินดีต้อนรับครับ ช่วงเทศกาลหรือวาระสำคัญต้องเดินทางไกลและลาดชัน เพื่อนๆหลายคนจำเป็นต้องใช้รถยนต์ขับขึ้นไปบนเขาสูง แต่ จอร์จ ไม่ได้มาแนะนำขาขึ้นเชื่อว่าทุกท่านสามารถหาได้ไม่ยาก แต่รู้ไหมครับว่าการขับรถลงเขามันช่างอันตรายยิ่งนักกว่าการขึ้นเขาซะอีก ไม่เว้นแม้กระทั่งรถใหม่ ดังนั้น จอร์จไทร์บิด จะมาแนะนำเทคนิคดีๆกัน

การขับรถลงเขาลาดชัน ต่างจากการขับรถขึ้นเขาโดยสิ้นเชิง เพราะรถจะไหลลงมาเร็วชนิดที่ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง เชื่อว่าหลายๆคนนิยมใช้วิธีเหยียบเบรกเพื่อประคองความเร็วให้ช้าสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา จอร์จบอกเลยว่าเป็นวิธีที่ ' ผิด ' และ ' อันตราย ' เป็นอย่างมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าระบบเบรกจะมีการเสียดสีจนเกินความร้อนสะสมมาก ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ' เบรกเฟด ' ซึ่งว่าง่ายๆ ก็คือ เบรกไม่อยู่ เหยียบหนักแค่ไหนรถก็ไม่ชะลอความเร็ว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุมานักต่อนักแล้ว

ดังนั้น การขับรถลงเขาจะต้องมีตัวช่วยอีกอย่างเพื่อให้ไม่เบรกทำงานหนักจนเกินไป นั่นคือ ' เกียร์ ' ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา รวมถึงเกียร์แบบซีวีทีด้วยครับ

เมื่อต้องขับรถลงเขาหรือทางชันเป็นระยะเวลานานๆ จอร์จ แนะนำให้เปลี่ยนจากตำแหน่งเกียร์ ' D ' ไปเป็นเกียร์ ' 2 ' หรือหากรถยังไม่มีแรงหน่วงพอ ก็ให้เลื่อนมาเป็นตำแหน่ง ' 1 ' หรือ 'L ' รอบเครื่องยนต์จะพุ่งขึ้นสูง พร้อมกับมีแรงหน่วงช่วยไม่ให้รถไหลด้วยความเร็วมากจนเกินไป ถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะหมุนด้วยความเร็วสูงไม่ต้องกลัวไป ในระหว่างนี้หัวฉีดจะไม่มีการจ่ายน้ำมัน จึงไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้รถกินน้ำมันมากกว่าปกติ

หากเป็นเกียร์อัตโนมัติรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ตำแหน่ง ' + ' ' - ' ก็ให้ผลักคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง Manual แล้วจึงผลักเกียร์ไปยัง ' - ' เพื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ 2 หรือ 1 ได้เช่นกัน

ส่วนการเบรก ให้เหยียบเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเหยียบแป้นเบรกตลอดเวลา เพราะจะทำให้เบรกร้อนจนเกิดอาการเฟด รวมถึงควรรักษาระยะห่างระหว่างรถคันหน้าพอประมาณ เพราะต้องใช้ระยะทางเบรกยาวกว่าทางราบปกติ เผื่อระยะไว้ก่อนจะดีกว่าเพื่อความปลอดภัย

เทคนิคนี้ถือว่าสำคัญมาก สามารถเซฟชีวิตและทรัพย์สินให้ปลอดภัยได้เป็นอย่างดี ดังนั้น อย่าลืมนำไปปรับใช้กับตัวเองกันนะครับ จอร์จไทร์บิด ขอตัวลาไปก่อนจนกว่าจะพบกันใหม่ครับผม

New Group : TIRESBID-ONLINE ชวนเข้าร่วมกลุ่ม แชร์ประสบการณ์ & ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ร่วมเลย : https://www.facebook.com/groups/tiresbidonline/

New Chat : Tiresbid Line Square ห้องแชทแห่งความลับ แชร์ถาม-ตอบ

เรื่องยางแบบส่วนตัว คลิกเลย : http://bit.ly/LINESQUARE-TIRESBID

New Channel : Tiresbid on YouTube ชวนมากด Like & Subscribe กันเยอะๆนะครับ

คลิกเลย : http://bit.ly/TiresbidYoutube

หากลูกค้าไทร์บิดหายห่วงเลยครับ จอร์จ บริการช่วยเหลือประสานงาน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ได้ตลอดเวลาทำการฟรี หรือ สนใจเช็คราคานัดหมายติดต่อซื้อยางง่ายดายสุดๆ ผ่านทาง Line Official : @tiresbid ได้เลยครับ หากไม่สะดวกพิมพ์อยากคุยกันมากกว่า โทรมาเลย : 094-958-7416 / 090-986-8762 คุยง่าย แนะนำดี ไม่ผิดหวัง วันนี้ก็ขอตัวแล้วครับโอกาสหน้าเรากลับมาเจอกันใหม่ครับ ส่งท้ายหากเพื่อนต้องการ ให้จัดหายาง สั่งยี่ห้อใดรุ่นใด ไซส์ใดเป็นพิเศษ สนใจแจ้งเข้ามาได้เลยครับ จอร์จและทีมงานยินดีให้บริการเต็มที่ ขอบคุณครับ

ยางรถยนต์ราคาถูก, ยางราคาถูก, ราคายางรถยนต์, เปลี่ยนยางรถยนต์, เปลี่ยนยางรถยนต์ราคา, ร้านขายยาง,

ร้านยางรถยนต์, ราคายาง maxxis, ราคายาง dunlop, ราคายางมิชลิน, ราคายางบริสโตน, ยาง hankook

ยาง goodyear, Continental, Firestone, BFGoodrich, ยาง apollo, Lazada, shopee, เช็คราคายางถูก, ศูนย์รวมร้านขายยาง, ร้านขายยางคนไทย, ยางออนไลน์, Toyota, Honda, Mazda, Mitsubishi, Ford, Nissan, Chevrolet, Hyundai, Isuzu, BMW, Benz, Volvo, Landrover, Audi, Porsche, Volkswagen, โปรโมชั่นยางรถยนต์, เช็คราคายางรถยนต์,

ราคายางล่าสุด, ยางรถยนต์ออนไลน์, ยางถูก, ยางมิชลิน, ยาง dunlop, ยาง maxxis, ยางบริสโตน, tiresbid, เปลี่ยนยางถึงบ้าน, michelin, bridgetone, เช็คราคายางรถยนต์, ยางรถยนต์ราคา, ยางถูก, ยางรถ และ เปลี่ยนยางไทร์บิด, ยาง continental, continental, goodyear, ยางดันลอป, ยางฮันคุก, ที่ 1 เรื่องยาง, เปลี่ยนยางถึงที่, เปลี่ยนยางถึงบ้าน


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน