ข้อมูลสุขภาพ: เหงือกอักเสบ (Gingivitis)

ผู้เขียนข้อความ

siritidaphon

member
เขียนกระทู้: 1,318
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
30 พฤษภาคม 2566 15:27 - อ่าน: 107 - ตอบ: 0

เหงือกอักเสบ (รำมะนาด โรคปริทันต์) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก มักพบในผู้ที่ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้ไม่ดี และกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้

โรคนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่อาจเป็นเรื้อรัง และหากปล่อยปละละเลย ไม่ได้ดูแลรักษาอย่างจริงจัง ก็อาจทำให้เกิดภาวะที่รุนแรง และการสูญเสียฟันได้

นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร มีความเครียดสูง หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเอดส์) อาจเกิดโรคเหงือกอักเสบชนิดรุนแรง ที่เรียกว่า “เหงือกอักเสบชนิดแผลเนื้อตายเฉียบพลัน (acute necrotizing ulcerative gingivitis/ANUG)” ซึ่งมักเป็นภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่เป็นเหงือกอักเสบเรื้อรัง

สาเหตุ

เกิดจากการสะสมของแผ่นคราบฟัน (dental plaque) และคราบหินปูน* ซึ่งจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก เชื้อแบคทีเรียจะปล่อยสารพิษออกมาระคายต่อสารเคลือบฟันและเหงือก ทำให้ฟันผุและเหงือกอักเสบได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้แผ่นคราบฟันและหินปูนจะค่อย ๆ เจาะลึกลงไปในซอกเหงือกและฟัน ในที่สุดจะมีการทำลายกระดูกเบ้ารากฟัน ทำให้ฟันโยกและเกิดถุงหนองในกระดูกเบ้ารากฟันได้ เรียกว่า ฝีรำมะนาด หรือ ฝีปริทันต์ (periodontal abscess)

 

ข้อมูลสุขภาพ: เหงือกอักเสบ (Gingivitis) ดูเพิ่มเติมที่นี่ 

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน