ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
siritidaphon
เขียนกระทู้: 1,318
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
มะเร็งตับอ่อน เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำย่อยและหลั่งฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างอินซูลินและกลูคากอน ในช่วงแรกผู้ป่วยอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่หากมะเร็งลุกลาม อาจทำให้มีอาการปวดท้อง น้ำหนักลดลง หรือมีอาการดีซ่านได้
อาการของมะเร็งตับอ่อน ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมักไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรกเริ่ม แต่หากมะเร็งลุกลามอาจทำให้มีอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ ปวดท้อง หรือปวดท้องร้าวไปถึงหลังแบบเป็น ๆ หาย ๆ และมักมีอาการหนักขึ้นหลังรับประทานอาหารหรือตอนนอน น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการดีซ่าน ผิวและตาเป็นสีเหลือง หรืออาจมีปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด และคันตามผิวหนัง เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือท้องเสีย มีลิ่มเลือด อาจมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ตามปกติ ทั้งนี้ หากพบว่าน้ำหนักตัวลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง มีอาการดีซ่าน รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งตับอ่อนหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้
สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน ในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่ามะเร็งตับอ่อนเกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้สารพันธุกรรมเกิดการกลายพันธุ์จนส่งผลให้เซลล์เพิ่มจำนวนจนอย่างผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง โดยปัจจัยที่อาจทำให้เกิดมะเร็งตับอ่อนซึ่งพบได้บ่อย คือ อายุ โรคมะเร็งตับอ่อนมักตรวจพบได้ในผู้ที่มีอายุมาก กรรมพันธุ์ ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน มีพ่อ แม่ หรือลูกเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนด้วย โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนได้มากกว่าคนทั่วไป โรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือผู้ที่ไม่ค่อยขยับร่างกายทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้น มีแนวโน้มเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนได้มากขึ้น โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และซีสต์ในตับอ่อนบางประเภท ผู้ป่วยโรคดังกล่าวจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนได้มากขึ้น การสูบบุหรี่ ยิ่งสูบบุหรี่มากเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากเท่านั้น เพราะประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่เคี้ยวใบยาสูบ มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งตับอ่อน แต่หากเลิกสูบมาแล้ว 10 ปี ความเสี่ยงของโรคนี้ก็อาจลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนได้
การวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อน แพทย์จะสอบถามถึงข้อมูลสุขภาพทั่วไป อาการที่เกิดขึ้น และตรวจร่างกาย หากสงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งตับอ่อน แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการอัลตราซาวด์ (Ultrasound) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan หรือการตรวจความเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (PET Scan) เพื่อจำลองภาพของตับอ่อน รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ภายในช่องท้อง นอกจากนี้ อาจมีการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การตรวจเลือด อาจทำทั้งก่อนและหลังการรักษา เพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งที่หลั่งออกมาจากเซลล์มะเร็งในตับอ่อน การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยส่งท่อเข้าไปตามทางเดินอาหารจนถึงกระเพาะ เพื่อเก็บภาพของตับอ่อน การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน โดยฉีดสีเข้าไปในน้ำดีและบริเวณท่อในตับอ่อน เพื่อแสดงตำแหน่งของเนื้องอกที่อาจอุดตันทางเดินน้ำดี การผ่าตัดผ่านกล้อง เพื่อให้แพทย์ได้เห็นภาพอวัยวะภายในร่างกาย และเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ โดยเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อของตับอ่อนจากก้อนเนื้องอกที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็ง
กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||