ต้องรู้เรื่องนี้ด้วยก่อนที่จะไปต่อภาษีรถยนต์

ผู้เขียนข้อความ

werncm

member
เขียนกระทู้: 8
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0 (ขอบคุณ)
24 สิงหาคม 2562 18:35 - อ่าน: 835 - ตอบ: 0

นอกจากเรื่องที่เราจะต้องทำ ประกันรถยนต์ ภาคบังคับตามที่กฎหมายกำหนดแล้วนั้น เรายังสามารถทำ ประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจได้อีก อย่างเช่น พวก ประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2 หรือชั้น 3 ซึ่งการทำประกันรถยนต์แบบนี้จะหนักว่า เราควรทำ ประกันรถยนต์บริษัทไหนดี ส่วน วิธีต่อประกันรถยนต์ นั้นเราก็สามารถเลือกได้ตามที่เราถนัดเลย และนอกจากนี้ก็อย่าลืมเรื่องของการจ่ายภาษีรถยนต์ด้วยล่ะ ซึ่งเรานั้นสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้แล้วด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ยังมีหลายคนสงสัยว่า การจ่ายภาษีรถยนต์นั้นจะจ่ายเท่าไหร่ ในวัยนี้เรานั้นก็ได้มีคำตอบในเเรื่องเหล่านี้มาฝากเพื่อนทุกคนกันด้วย ซึ่งเมื่อใกล้ครบกำหนดการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี สัก 1 เดือน ก็ให้นำรถไปตรวจสุขภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมขนส่งทางบก จากนั้นก้ให้เตรียมเอกสารต่างๆ อย่าง เล่มทะเบียนรถพร้อมสำเนา เอกสารประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และใบรับรองการตรวจสภาพรถ ให้พร้อม คราวนี้เรามาดูกันบ้างดีกว่าเรานั้นจะต้องจ่ายภาษีรถยนต์เท่าไหร่ โดยอัตราภาษีรถยนต์นั้นก็จะถูกแบ่งตามปัจจัยหลักๆ 4 ประเภท ดังนี้ 1. ความจุกระบอกสูบ (ซีซี) 2. อายุรถ 3. น้ำหนักรถ 4. ประเภทรถ ซึ่งถ้าหากว่าเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (ทะเบียนป้ายขาวตัวหนังสือสีดำ) อย่างเช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง 3 ตอน (SUV) รถเก๋ง 3 ตอน แบบกระบะ (PPV; TOYOTA FORTUNER, Suzuki MU - 7) หรือรถแวนเล็ก (MPV) นั้นก็จะมีอัตราการเสียภาษีดังนี้ 1. ความจุกระบอกสูบ (ซีซี) - สำหรับ 600 ซีซี ซีซีละ 0.50 บาท - สำหรับ 601 - 1,800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท - สำหรับตั้งแต่ 1,800 ซีซี ขึ้นไป ซีซีละ 4.00 บาท 2. อายุรถ ซึ่งถ้าหากว่ามากกว่า 5 ปี ขึ้นไป เราก็จะได้รับการลดหย่อนภาษีด้วย - รถอายุ 6 ปี ลดหย่อนภาษีได้ 10% - รถอายุ 7 ปี ลดหย่อนภาษีได้ 20% - รถอายุ 8 ปี ลดหยลดหย่อนภาษีได้ - รถอายุ 9 ปี ลดหย่อนภาษีได้ 40% - รถอายุ 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้ 50% และถ้าหากว่าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง และ รถบรรทุกส่วนบุคคล อย่างเช่น รถตู้ รถกระบะตอนเดียว และรถกระบะมี Cap นั้นก็จะต้องเสียภาษีตามน้ำหนักของรถยนต์ - ไม่เกิน 500 กก. 150 บาท - 501 - 750 กก. 300 บาท - 751 - 1,000 กก. 450 บาท - 1,001 - 1,250 กก. 800 บาท - 1,251 - 1,500 กก. 1,000 บาท - 1,501 - 1,750 กก. 1,300 บาท - 1,751 - 2,000 กก. 1,600 บาท - 2,001 - 2,500 กก. 1,900 บาท - 2,501 - 3,000 กก. 2,200 บาท และในส่วนของรถส่วนบุคคลอื่นๆ นั้นก็จะต้องเสียภาษีเป็นรายคันตามประเภทรถ ดังนี้ - รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 100 บาท - รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 50 บาท - รถพ่วงอื่นๆ นอกเหนือจากพ่วงรถจักรยานยนต์ 100 บาท และที่เราได้กล่าวไปนั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายภาษีของรถยนต์แต่ละประเภท ซึ่งถ้าหากว่าใครสงสัยในเรื่องใดก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางกรมขนส่งได้

กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ตอบกระทู้ด่วน

กรุณาล็อคอินก่อนทำการตอบกระทู้นี้
สมัครสมาชิก หรือ ล็อคอิน