ผู้เขียน | ข้อความ | ||
---|---|---|---|
Dakanda
เขียนกระทู้: 5
ตอบกระทู้: 0
พลังน้ำใจ: 0
(ขอบคุณ)
|
โอนรถยนต์ใช้เงินกี่บาท ในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ ว่าประชาชนผู้ใช้บริการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลต้องมีค่าใช้จ่าย 5 หมวด ดังนี้ เงิน 5 บาท สำหรับค่าหนังสือ “คำขอ” ของทางราชการ เงิน 100 บาท สำหรับ ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ส่วนบุคคล เงิน สำหรับ “ค่าอากรแสตมป์” ในสัดส่วนที่เพิ่มตามราคาที่มีการประเมินรถไว้ กล่าวคือ “ค่าอากรแสตมป์” 500 บาท ต่อ รถมูลค่า 1 แสนบาท เงิน 200 บาท สำหรับค่าป้ายทะเบียน กรณีนี้ จะจ่ายเฉพาะผู้ที่ต้องการเปลี่ยนป้ายฯ เงิน 100 บาท สำหรับค่าทำเล่มทะเบียนใหม่ กรณีที่เล่มทะเบียนชำรุดฉีกขาด-เก่า
สามารถฝากผู้อื่นให้โอนรถยนต์แทนได้หรือไม่? กรมการขนส่งทางบกแนะนำว่า ไม่ควรฝากคนอื่นทำการโอนและจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลให้ เพราะมักมีการบวกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากในประกาศ “ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ กรมการขนส่งทางบก” ซึ่งเรียกได้ว่า ไม่จำเป็นต้องฝากคนอื่นมาทำแทนแล้วในยุค 2561 เพราะปัจจุบัน ระบบมีการเชื่อมข้อมูลแบบ MDM และทำงานแบบ REALTIME ดังที่กล่าวข้างต้น ว่าลดระยะเวลาในการโอนรถฯ ไร้กังวลเรื่องการเสียเวลามากอย่างในอดีต ส่วนการโอนรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งปัจจุบันมีความนิยมขับรถตระกูล BIGBIKE มากขึ้น ก็มีกระบวนการคล้ายกัน แค่สลับกันตรงที่ว่าต้องตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ก่อนการกรอกแบบฟอร์มเท่านั้นเอง
“การโอนลอย” คืออะไร? อีกประเด็นหนึ่งที่ยังมีหลายคนนิยมการโอนรถ ด้วยวิธีการที่เรียกทั่ว ๆ ไปว่า “โอนลอย” ซึ่งขออธิบายเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ “โอนลอย” ว่าเป็นการลักษณะที่ว่า เมื่อเจ้าของรถ เช่น นาย เอ ขายรถยนต์ให้ นาย บี แล้ว (รับเงินไปเรียบร้อย) นาย เอ จะลงชื่อ-นามสกุล ในเอกสารโอนรถเรียบร้อย พร้อมให้สำเนาเอกสารราชการต่าง ๆ แก่ นายบี ที่สำคัญ คือ เขียนหนังสือ “มอบอำนาจ” ให้ผู้ซื้อ คือ นายบี ไปดำเนินการต่อเองที่สำนักงานขนส่ง จะเห็นได้ว่าการ “โอนลอย” ที่ทำกันโดยทั่วไปเช่นนี้ ยังไม่มีการติดต่อหน่วยงานราชการ เป็นการกระทำระหว่างสองฝ่ายเพียงผู้ซื้อ-ผู้ขาย ดังนั้น ถือว่าการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลยังไม่สิ้นสุดสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่มีการจดทะเบียนโอนให้เสร็จสมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งการโอนลอย ดูเหมือนว่าจะให้ความสะดวกจึงทำให้คนส่วนใหญ่ เกิน 80 เปอร์เซ็นต์ ทำการซื้อขายกันเองแบบโอนลอย แต่มีการเก็บสถิติพบว่า มีปัญหาใหญ่ที่มักเกิดตามมา คือ ปัญหาการสวมทะเบียนรถยนต์ปลอม ทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหายและมีผลทางกฎหมายที่ต้องดำเนินการอีกมากตามมา นอกจากนี้ยังมีปัญหา บัตรผู้ขายหมดอายุแล้ว ทำให้ผู้ซื้อต้องยื่นเอกสารใหม่อีกรอบ นอกจากนี้ หากผู้ซื้อ (นายบี) ไม่ไปทำการโอนให้เรียบร้อยหลังการซื้อขาย (ที่ไม่เป็นทางการนั้น) และที่สำคัญคือยังไม่ไปต่อภาษี ก็จะทำให้เกิดการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายและเป็นประวัติการค้างต่อภาษี ในชื่อของนายเอ อยู่นั่นเอง จะเห็นได้ว่าควรดำเนินการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลด้วยตัวเอง จะมีความเสี่ยงในการเจอปัญหาน้อยที่สุด ประกอบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ของกรมการขนส่งทางบก ในปี 2561 จึงช่วยอำนวยความรวดเร็วมากขึ้นอย่างแน่นอน มาถึงตรงนี้ก็คงจะเห็นแล้วนะว่าการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเห็น เพียงแต่ต้องศึกษาค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ก่อนเสมอ และพึงระลึกไว้เสมอว่า อย่าฝากคนอื่นโอนเด็ดขาด กระทู้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
||